กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาทักษะ care giver ด้านการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลปันแต

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

59.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

16.00
3 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล

 

100.00

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางอายุของประชากรไทย ทำให้ประชากรผู้สูงอายุ มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตเนื่องมาจากกลุ่มผู้สูงวัยเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสื่อมลงของสภาพร่างกายตามธรรมชาติ และเป็นกลุ่มที่ต้องพบกับปัญหาด้านสุขภาพจิต สังคมมากที่สุดเนื่องจากวัยที่ต้องเผชิญกับการสูญเสีย การต้องแยกจากบุคคลอันเป็นที่รัก ประสบกับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินชีวิต มีภาวะเจ็บป่วยร่วมด้วยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่ออัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิต เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และเมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงวัยจะมีโอกาสป่วยด้วยสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นโดยพบ 10 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และพบได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ในผู้ที่มีอายุ 85 ปี
ผู้ดูแล (Care Giver)ซึ่งเป็นผู้ที่มีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วย เพื่อช่วยตอบสนองการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่นับวันดูแลตนเองได้น้อยลงเรื่อย ๆ และผู้ป่วยเหล่านี้ถือว่าเป็นภาระแก่ผู้ดูแลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นผู้ดูแล (Care Giver)จึงมีบทบาทสำคัญต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแล ซึ่งจะส่งผลอันดีต่อผู้ป่วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม ที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ
2. มีทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อม ที่มีปัญหาจากพฤติกรรมและจิตใจ
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ
4. มีความสามารถด้านการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อม ที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ
5.มีความสามารถด้านการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจ
6. เพิ่มทักษะการดูแลและกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงวัยสมองเสื่อม ที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ CG 16

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้แก่ Care Giver การดูแลผู้สูงวัยที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้แก่ Care Giver การดูแลผู้สูงวัยที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลปันแต เพื่อเสนอจัดทำโครงการขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแต
  2. คัดกรองผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลปันแต ตามแบบฟอร์ม NPI-Q thai 3.จัดกิจกรรมตามหลักสูตร program ทักษะการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้ผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรม จิตใจ มีคุณภาพชีวิตที่ดี 2.เพื่อให้ผู้ดูแลได้ลดภาระในการดูแลที่เกิดขึ้นระหว่างความไม่เข้าใจในสาเหตุและอาการของผู้สูงวัยกลุ่มนี้ 3.เพื่อให้ Care Giver มีทักษะ ทัศนคติ มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงวัยที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 20 คน x 1 มื้อ x 2 วัน x 60 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 20 คน x 2 มื้อx 2 วัน x
25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าวัสดุโครงการจำนวน 5,000 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์ม คัดกรอง NPI-Q thaiจำนวน 1,240 ชุด x 3 แผ่น x0.50 บาท เป็นเงิน 1,860 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 16 ชุด x 3 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน24 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบการจัดการปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ดูแล จำนวน 16 ชุด x 3 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน24 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้ดูแลจำนวน 16 ชุด x 3 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน24 บาท - ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจสำหรับผู้ดูแล(Pre/Post test) จำนวน 16 ชุด x 4 แผ่น x 0.50 บาท เป็นเงิน 32 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18540.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแล Care Giver มีทักษะ ความรู้ ในการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อม ที่มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90
2.ผู้สูงวัยสมองเสื่อม ได้รับการดูแลปฏิบัติตามทักษะการดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อมที่มีปัญหาพฤติกรรม
และจิตใจ


>