กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กก่อนวัยเรียน“เด็กปฐมวัยฟันดี ยิ้มสดใส”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

1. ห้องประชุมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนปันแต 2. ห้องประชุมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

23.01

โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ ๑–๓ ปี โดยประกอบด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของผู้ปกครองในการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทั้งโครงสร้างของอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้มีผลต่อการดูแลรักษาฟันและการดูแลทำความสะอาดช่องปากเด็กไม่ถูกวิธี จึงส่งผลให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็ก
การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่ จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้น ไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าแสดงออก
จากการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน ๓ – ๕ ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนปันแต ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลปันแต ปี ๒๕๖3 พบว่า เด็กอายุ 3-5 ปี จำนวน 82 คน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 95.12 มีปัญหาโรคฟันน้ำนมผุ คิดเป็นร้อยละ 43.59 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ 1.5 ซี่/คน และเด็กอายุ ๓–๕ ปีที่ปราศจากฟันผุคิดเป็นร้อยละ 50
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน จึงได้จัดทำโครงการ เด็กปฐมวัยฟันดี ยิ้มสดใส ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสำนักกอ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนปันแต ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปันแตจำนวน 7,638บาท (เจ็ดพันหกร้อยสามสิบแปดบาทถ้วน) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคฟันผุในเด็ก และส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องของเด็กก่อนวัยเรียน
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองเพิ่มมากขึ้น
43.59 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 8

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและการให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดและผู้อบรม จำนวน 80 คน x 25บาทx 1มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม แบบทดสอบความรู้ ก่อน – หลังการอบรม จำนวน 144 แผ่น x 0.5 บาท เป็นเงิน 72 บาท - ค่าถ่ายเอกสารสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม แบบประเมินความพึงพอใจโครงการ จำนวน 72 แผ่น x 0.5 บาท เป็นเงิน 36 บาท - ค่าแปรงสีฟันสำหรับฝึกทักษะการแปรงฟันเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 72 คน x 10 บาท เป็นเงิน 720 บาท - ค่ายาสีฟันสำหรับฝึกทักษะการแปรงฟันเด็กก่อนวัยเรียน จำวน 72 คน x 25 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการฯ ขนาด ๑ x 3 เมตร จำนวน ๑ แผ่นป้าย เป็นเงิน ๔๕๐ บาท
- ค่ากล่องสำหรับเก็บแปรงสีฟันเด็กจำนวน 72 ชิ้น x ชิ้นละ 30 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7238.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,238.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองเพิ่มมากขึ้น


>