กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนตลาดล่างพร้อมใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปีงบประมาณพ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนตลาดล่าง

1.นางจันทิมาสติรักษ์
2.นางจิตรายามิง
3.นางรุสลีนา สะมาแอ
4.นายธีระชาติสติรักษ์
5.นางอภิญญามะยิ

เขตชุมชนตลาดล่าง ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในแต่ละช่วงอายุคน ความต้องการด้านสารอาหารของร่างกายมีความแตกต่างกัน วัยเด็กร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและสร้างสติปัญญา วัยผู้ใหญ่เน้นสารอาหารที่สามารถเสริมสร้างกำลังกายและกำลังสมอง แต่สำหรับในวัยผู้สูงอายุ สารอาหารที่ร่างกายต้องการโดยส่วนมากแล้วเน้นเพื่อการคุ้มกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บเป็นส่วนมาก การรับประทานอาหารของแต่ละช่วงอายุจึงมีความแตกต่างกัน รวมทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารของแต่ละวัยก็มีความแตกต่างด้วยเช่นกัน วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุ มีปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือภาวะโภชนาการและวิถีดำเนินชีวิต ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบง่ายๆ ของสังคม ความสำคัญของหลักโภชนาการที่ถูกต้องจึงยังเป็นเรื่องที่ไม่เข้าถึงมากนัก ผู้สูงอายุส่วนมากมีพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่ถูกหลักโภชนาการและสุขลักษณะ ส่งผลให้ร่างกายที่มีภูมิต้านทานอ่อนแออยู่แล้วนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายขึ้นอีก จะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัยมีความสำคัญ เน้นคำนึงถึงความต้องการสารอาหารของร่างกาย มีความหลากหลายและสมดุลพอเหมาะพอดี ไม่มากเกินไปจนการทำงานของระบบร่างกายผิดปกติหรือต้องไม่น้อยเกินเกิดภาวะขาดสารอาหาร นอกจากนี้การออกกำลังกาย การผ่อนคลายทางจิตใจรวมทั้งการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นผลด้านเสียก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุอีกด้วย ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ เนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของผู้สูงอายุได้มีการเปลี่ยนแปลง อวัยวะแต่ละส่วนมีการทำงานด้อยลงไป รวมทั้งประสาทสัมผัสทั้ง ๕ เช่น การรับรู้รสและกลิ่นของอาหารได้ไม่ดี ทำให้ความอยากอาหารลดน้อยลงไป ประกอบกับปัญหาเรื่องเหงือกและฟันและระบบการย่อย การดูดซึมได้ไม่ดีเท่าทีควร จึงมักจะมีปัญหาสุขภาพต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ถ้าได้รับสารอาหารมากไปหรือไม่เพียงพออาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้ถ้าผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเกี่ยงข้องเอาใจใส่ดูแล แนะนำเกี่ยวกับการบริโภค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ และผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ในเรื่องโภชนาการ

ผู้สูงอายุและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ในเรื่องโภชนาการ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัยเหมาะสมตามวัย

ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัยเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคและสุขภาพจิตที่แจ่มใสสำหรับผู้สูงอายุ

สามารถสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคและสุขภาพจิตที่แจ่มใสสำหรับผู้สูงอายุได้  ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/05/2021

กำหนดเสร็จ 29/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2564 ถึง 29 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ
1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน X 50 บาท X 1 มื้อ    เป็นเงิน 4,000 บาท     2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน X 25 บาท X 2 มื้อ   เป็นเงิน 4,000 บาท     3.ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชม.ๆละ 300 บาท    เป็นเงิน 1,800 บาท     4.ค่าวัสดุในการจัดอบรม เป็นเงิน 4,400 บาท         - ค่าสมุด จำนวน 80 เล่มๆละ 10 บาท   เป็นเงิน  800 บาท         - ค่าปากกา  จำนวน 80 ด้ามๆละ 5  บาท เป็นเงิน  400 บาท         - ค่าแฟ้ม จำนวน 80 เล่มๆละ 10 บาท  เป็นเงิน 800 บาท         - ค่าเอกสารประกอบความรู้ จำนวน 80 ชุดๆละ 30 บาท   เป็นเงิน 2,400 บาท     5.ค่าไวนิล 1 เมตร X 3  เมตร   เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤษภาคม 2564 ถึง 29 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ในเรื่องของหลักโภชนาการและการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้สูงอายุและผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ในเรื่องโภชนาการ
๒. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัยเหมาะสม
ตามวัย
๓. สามารถสร้างสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคและสุขภาพจิตที่แจ่มใสสำหรับผู้สูงอายุได้


>