กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. นางสุภัทรียายูโซ๊ะ
2. นางสาวศรีสุดาธนูศิลป์
3. นางสาวนุรุลฮูดาราเซะ

- ห้องประชุมเทศบาลตำบลปาเสมัสอ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส- พื้นที่หมู่ที่ 1 – 8 ตำบลปาเสมัส อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันตำบลปาเสมัส มีปริมาณขยะจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของท้องถิ่น ขยะส่วนใหญ่มาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับเทศบาลตำบลปาเสมัส ในการบริหารจัดการกำจัดขยะเหล่านั้น ปริมาณขยะจำนวนมากที่เกิดขึ้นทุกวัน ส่งผลให้มีขยะตกค้างเป็นจำนวนมากในแต่ละวันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ได้แก่ ชุมชนสกปรกไม่น่ามอง เสียทัศยนีภาพ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ และพาหะนำโรคต่างๆ เช่น หนู แมลงสาบ แมลงวัน ทั้งยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโดยตรง เช่น อหิวาตกโรค อุจจาระร่วง บิด โรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ เกิดการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท ลงสู่พื้นดินและแหล่งน้ำ แหล่งน้ำเน่าเสีย ท่อระบายน้ำอุดตัน อันเป็นสาเหตุของปัญหาน้ำท่วมขัง เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละลอง เขม่า ควัน จากการเผาขยะ และขยะบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้ และกำจัดได้ยาก เช่น โฟม พลาสติก ทำให้ตกค้างสู่สิ่งแวดล้อม
เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เทศบาลตำบลปาเสมัสจึงจัดโครงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนขึ้น โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนในการดูแลสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะของเทศบาล นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง ยังรวมไปถึงการลดปริมาณขยะที่นำไปกำจัดโดยการเผาไหม้และฝังกลบได้ ทำให้ช่วยลดสภาวะเรือนกระจก ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือ ภาวะโลกร้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการคัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการคัดขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชนของตนเอง

0.00
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน

ประชาชนมีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน

0.00
3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะมูลฝอยและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ สร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน    ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะมูลฝอยและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

0.00
4 เพื่อรณรงค์ และขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน

ชุมชนสามารถขยายผลสู่การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและบริหารจัดการขยะในครัวเรือนและชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไป 240

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชนแก่ผู้เข้าอบรม จำนวน 4 รุ่นๆละ 60 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 รุ่นๆละ 5 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะในครัวเรือนและชุมชนแก่ผู้เข้าอบรม จำนวน 4 รุ่นๆละ 60 คน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 รุ่นๆละ 5 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลอบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือนและชุมชน ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน    เป็นเงิน  720 บาท
  • ค่าตอบแทนสัมมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 500 บาท จำนวน 4 รุ่น                เป็นเงิน  12,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 รุ่นๆละ 65 คน  รวม 260 คนๆละ จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท            เป็นเงิน  13,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 รุ่นๆละ 65 คน รวม 260 คนๆละ จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน  13,000 บาท
  • ค่าถุงผ้ารักษ์โลกพร้อมสมุดและปากกา จำนวน 240 คนๆ 1 ชุดๆละ 30 บาท       เป็นเงิน  7,200 บาท
  • ค่าแผ่นพับที่ใช้เป็นสื่อในการอบรมฯ จำนวน 240 แผ่น แผ่นละ 1 บาท  เป็นเงิน  240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย
  2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
  3. ปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนลดลง
  4. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
  5. หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัส สะอาดน่าอยู่ อย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46160.00

กิจกรรมที่ 2 ตลาดนัดขยะรีไซเคิล

ชื่อกิจกรรม
ตลาดนัดขยะรีไซเคิล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการตลาดนัดขยะรีไซเคิล ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน  1 ผืน        เป็นเงิน  720 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลราคารับซื้อขยะรีไซเคิล ขนาด 1.5 เมตร X 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน  900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย
  2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
  3. ปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนลดลง
  4. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
  5. หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัส สะอาดน่าอยู่ อย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1620.00

กิจกรรมที่ 3 ขยะอันตรายแลกไข่ (เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564)

ชื่อกิจกรรม
ขยะอันตรายแลกไข่ (เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่ ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 8  ผืน (หมู่บ้านละ 1 ผืน) เป็นเงิน  5,760 บาท
  • ไข่ไก่ จำนวน 6,000 ฟอง จำนวน 6 เดือนๆละ 1,000 ฟองๆละ 5 บาท  เป็นเงิน  30,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย
  2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
  3. ปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนลดลง
  4. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
  5. หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัส สะอาดน่าอยู่ อย่างยั่งยืน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,540.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย
2. ชุมชนมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ด้วยตนเอง
3. ปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนลดลง
4. ประชาชนและชุมชนมีรายได้จากการจัดการขยะ
5. หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปาเสมัส สะอาดน่าอยู่ อย่างยั่งยืน


>