กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังเเละควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ปี 2564 หมู่ 5

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะลุวอ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านจาเราะสะโตร์

หมู่ที่ 5บ้านจาเราะสะโตร์ ตำบลกะลุวออำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ทำให้ประชาชนเกิดการตื่นตระหนกกันทั่วโลกร่วมถึงประเทศไทยด้วย พบว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มีการระบาดไปยังหลายประเทศ ทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อเเละเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจอย่างรุนเเรงสถานการณ์การเเพร่ระบาดกระจายไปยังทุกพื้นที่ ยังไม่สามารถควบคุมการเเพร่ระบาดได้เเละมีเเนงโน้นว่าอาจจะมีการระบาดเพิ่มมากขึ้น
สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ในประเทศ มีผู้ป่วยติดเชื้อยืนยังสะสม จำนวน 12,423 รายมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 70 ราย ซึ่งไปมีการเเพร่ระบาดทั่วจังหวัดในประทศไทย ส่วนในจังหวัดนราธิวาส พบว่ามีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมจำนวน 47ราย มีผู้เสียชีวิต จำนวน 2 ราย เป็นการติดเชื้อสัมผัสผู้ติดเชื้อในประเทศเเละติดเชื้อที่บ้านมาจากต่างประเทศ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่ ตัวไวรัสโควิด 19 จะทำให้เกิดไข้สูง มีน้ำมูก จาม ไอ การอักเสบของเยื้อหุ้มปอดอย่างรุนเเรงเเละระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด
มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยการรักษาสุขภาพร่างกายให้เเข็งเเรงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กกละมาตรการการป้องกันที่ดีที่สุด ได้เเก่ หลีกเหลี่ยงการเดินทางไปยังงพื้นที่เสี่ยงที่มีกรระบาดของโรค การเว้นระยะทางอย่างน้อย 2 เมตร การใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าอย่างถูกวิธี การล้างมือให้สพอาดด้วยเเอลกอฮอล์ เจลหรื่อสบู่ เเละตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย รวมถึงการใช้แอปหมอชนะ จากเหตุผลข้างต้นทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลุวอได้เล็งถึงความสำคัญเเละตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชนได้รับความรู้เเละสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีการตรวจคัดกรองประชาชน เเละติดตามผู้ที่กลับมาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุใสูงสุดเเละเสี่ยงสูงอย่างครบถ้วน

ประชาชน กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100

100.00 100.00
2 ประชาชนที่กลับมาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเเละเสี่ยงสูง ได้รับการตรวจคดกรองติดตามครบ 14 วันอย่างครบถ้วน

ประชาชนที่กลับมาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเเละเสี่ยงสูง ได้รับการตรวจคดกรองติดตามครบ 14 วันอย่างครบถ้วนร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมติดตามตรวจคัดกรองผู้ที่กักตัวที่บ้าน (HQ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามตรวจคัดกรองผู้ที่กักตัวที่บ้าน (HQ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมตามอาการ วัดไข้ ในกลุ่มผู้ที่กักตัวที่บ้านทุกวัน จำนวน 14 วัน เเละนำมาตรการป้องกันโรคในครอบครัว  จำนวน  10 คน -ค่าชดเชยน้ำมัน  จำนวน  50  บาท*10 คน * 14 วัน   เป็นเงิน  7,000   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขได้มีการตรวจคัดกรองประชาชน เเละติดตามผู้ที่กลับมาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดเเละเสี่ยงสูงอย่างครบถ้วน ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดซื้ออุปกรณ์ สำหรับตรวจคัดกรอง ป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ที่กักตัวที่บ้าน (HQ)/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดซื้ออุปกรณ์ สำหรับตรวจคัดกรอง ป้องกันโรคโควิด-19 ผู้ที่กักตัวที่บ้าน (HQ)/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุ/ครุภัณฑ์ ในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน 1.ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหน้าผาก จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 2,500  บาท  เป็นเงิน 5,000  บาท 2.ค่าหน้ากากอนามัยสำหรับผู้กักตัวที่บ้าน/ครอบครัว   จำนวน  4 กล่องๆ ละ 100  บาท  เป็นเงิน  400  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่กลับมาจากจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุด/เสี่ยงสูง/ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการตรวจคดกรองครบถ้วนคิดเป็นร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ได้รับการตรวจคัดกรอง ติดตาม สุขภาพอย่างเหมาะสม
2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลกะลุวอ มีสุขภาวะที่ดี เเละปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))


>