กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ลดเค็ม ลดความดัน 7 วัน ความดันลด 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปาเสมัส

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา

นางสาวนิอาซีซะห์ เจ๊ะอาลี

หมู่ที่ 1 3 6 และ 7ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) หลอดเลือด หัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย
จากข้อมูลการสำรวจพบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 24.7 ในปี 2557 พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น คือ การกินเค็ม (เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงกว่าความต้องการที่ร่างกายควรได้รับถึง 1 เท่า คือ ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) การศึกษาในพื้นที่อำเภอบางพลี สมุทรปราการ โดยภาควิชาอายุรศาสตร์ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าการให้ความรู้อย่างเข้มข้นโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามการบริโภคอาหารย้อนหลังและแนะนำการลดบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบนลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างลดลงถึง 5 มิลลิเมตรปรอท
อีกทั้งการศึกษาในผู้สูงอายุไทยที่เป็นความดันฯสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันฯด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมความดันฯได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันฯสูงที่วัดความดันฯด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันฯได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 – 8 มม.ปรอทในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันฯที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring: HBPM) หรือ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันฯไม่ได้ตามเกณฑ์
ในพื้นที่ หมู่ที่ 1,3,6 และ 7 ตำบลปาเสมัส ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพสต. บ้านกวาลอซีรา ปัจจุบันปี 2563 มีผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ทั้งที่รับบริการจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และที่รพ.สต. ทั้งสิ้น จำนวน 667 คน แต่ควบคุมความดันโลหิตได้เพียง 73 คน คิดเป็นร้อยละ 10.94 เท่านั้น ดังนั้น รพ.สตบ้านกวาลอซีราจึงจัดทำโครงการลดเค็ม ลดความดัน 7 วัน ความดันลด 2563 เพื่อสนับสนุนการปรับพฤติกรรมการกิน โดยคาดหวังว่าจะช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง จนควบคุมความดันโลหิตได้หรือเป็นปกติได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
1.1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน20 คน จำนวน 2 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 20 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คน จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 800 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มแต่ละฐาน จำนวน 4 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 3,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 1.2 กิจกรรมการวัดความดันโลหิตและการติดตามผลการวัดความดันโลหิต ภายใน 7 วัน โดยแบ่งเป็นรุ่น จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 10 คน โดยให้กลุ่มเป้าหมายยืมเครื่องวัดความดันโลหิตจาก รพ.สต.บ้านกวาลอซีรา

ชื่อกิจกรรม
1.2 กิจกรรมการวัดความดันโลหิตและการติดตามผลการวัดความดันโลหิต ภายใน 7 วัน โดยแบ่งเป็นรุ่น จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 10 คน โดยให้กลุ่มเป้าหมายยืมเครื่องวัดความดันโลหิตจาก รพ.สต.บ้านกวาลอซีรา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 10 เครื่องๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท -ค่าจัดซื้อถ่านก้อน จำนวน 20 แพคๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมมีคระดับความดันโลหิตที่ควบคุมได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความดันโลหิตและควบคุมความดันโลหิตได้


>