กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยและควบคุมป้องกันโรคไข้มาลาเรีย (02-26)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

อสม.รพ.สต.บ้านกือลอง

ม.2 บ้านกือลอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมาลาเรีย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในประเทศไทย จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีแม้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้นแต่อัตราตายจากมาลาเรียยังคงสูงและในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกประมาณ 627,000 โดยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากมาลาเรียขึ้นสมอง เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน สถานการณ์ทั่วไปโรคไข้มาลาเรียช่วง ปี 2560 2561 พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย 8,919 17 ,570 ราย อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียต่อพันประชากร 0.14 , 0.21 ตามลำดับ โดยจังหวัดยะลา พบผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย อย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้มีการเน้นให้มีการควบคุมโรคมาลาเรียเป็นนโยบายหลักของงานด้านสาธารณสุข อำเภอบันนังสตาเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียของจังหวัดยะลา โดยเฉพาะในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกือลอง ปี 2563พบผู้ป่วย จำนวน 38ราย พบมากที่สุด หมู่ที่ 2บ้านกือลอง30รานหมู่ 6 บ้านตลาดนิคม3 ราย และหมู่ 9บ้านคีรีลาดพบผู้ป่วย5รายและพบการระบาดอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค ประกอบกับสภาพพื้นที่ของตำบลที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการระบาดของโรค ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง มียารักษาโรคหลายชนิดที่ป้องกันมาลาเรียในผู้ที่เดินทางไปยังบริเวณที่พบโรคมาลาเรียทั่วไป แนะนำให้ใช้ยารักษาโรคซัลฟาด็อกซีน/ไพริเมธามีน บางครั้งในทารกและหลังไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ในบริเวณซึ่งมีโรคมาลาเรียอัตราสูง โรคมาลาเรียยังไม่มีวัคซีนนอกจากนี้พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียจึงทำให้โรคไข้มาลาเรียมีการระบาดตลอดปีและมีการระบาดในทุกกลุ่ม
ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของโรคมาลาเรีย จึงต้องมีการป้องกัน โดยการสร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการพ่นสารเคมีตกค้างในบ้าน เพื่อให้เกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคไข้มาลาเรียได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนพื้นที่กลุ่มเป้าหมายมีการป้องกันตนเองจากไข้มาลาเรียที่ถูกต้อง

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียลดลง

100.00 50.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่โดยการเจาะเลือดหาเชื้อมาลาเรียเพื่อจะรับการรักษาทันที

ผู้ป่วยรายใหม่ที่ยังไม่แสดงอาการสามารถได้รับการรักษาได้ทันทีส่งผลให้ลดการระบาดของโรคมาลาเรียในพื้นที่

100.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4,345
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรียรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรียรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรียรายใหม่                                                                    1.ค่าวัสดุอุปกรณ์การเจาะเลือด                                                          - เข็มเจาะเลือด safety lancet SLOB(1 กล่อง 100 ชิ้น) จำนวน  40  กล่อง กล่องละ 120 บาท                                 เป็นเงิน 4,800 บาท                                                             -สไลด์ (1 กล่อง 72 ชิ้น) จำนวน 40 กล่อง กล่องละ 90บาท              เป็นเงิน  3,600  บาท                                                  -ถุงมือ จำนวน 20 กล่อง กล่องละ 130 บาท                              เป็นเงิน 1,950 บาท                                              -สำลีก้อน (40g) จำนวน 50 ถุง ถุงละ 28 บาท                         เป็นเงิน 1,400 บาท
- แอลกอฮอล์(450ml) จำนวน 28 ขวดๆ 50 บาท               เป็นเงิน 1,400 บาท 2.ค่ายานพาหนะ อสม.ลงพื้นที่เจาะเลือดค้นหาผู้ป่วย จำนวน 68 คน คนละ 100 บาท   เป็นเงิน 6,800 บาท รวมเงินกิจกรรมที่ 1     เป็นเงิน 19,950  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนพื้นที่เสี่ยงได้รับการตรวจ  4345 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19950.00

กิจกรรมที่ 2 พ่น UIV (พ่นละอองฝอย) แบบปูพรมพื้นที่เสี่ยงทุกกลุ่มบ้าน

ชื่อกิจกรรม
พ่น UIV (พ่นละอองฝอย) แบบปูพรมพื้นที่เสี่ยงทุกกลุ่มบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

.ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
- น้ำมันเบนซิน  250 ลิตรๆละ  24  บาท                                เป็นเงิน 6,000  บาท -น้ำมันดีเซล 275  ลิตรๆละ  22  บาท                                      เป็นเงิน 6,050 บาท -น้ำมันสำหรับใส่รถยนต์ที่ใช้ในการพ่น  วันละ 300  บาท x 10  วัน                                                         เป็นเงิน 3,000  บาท - ค่าจ้างพ่น UIV  10  วันๆละ  300 บาท จำนวน 2 คน
เป็นเงิน 6,000  บาท
รวมเงินกิจกรรมที่ 2    เป็นเงิน   21,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หมู่ 2,4,6 ได้รับการพ่นหมอกควันแบบละอองฝาก ทุกหลังคาเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความตระหนักในการป้องกันตนเองและครอบครัวส่งผลให้อัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียลดลง
2. ผู้ป่วยรายใหม่ที่ยังไม่แสดงอาการสามารถได้รับการรักษาได้ทันทีส่งผลให้ลดการระบาดของโรคมาลาเรียในพื้นที่
3. ทุกหลังคาเรือนในพื้นที่ระบาด A1A2 ได้รับการพ่นติดฝาผนัง
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….….


>