กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง รหัส กปท. L3032

อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการมัสยิดสร้างเสริมสุขภาวะ
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
คณะกรรมการมัสยิดดารุลฟุรกอน
กลุ่มคน
นายอับดุลรอแม จาลงค์
นายมูฮำมัดเฟาซีจาลงค์
นายมะรีเป็งจาหลง
นายอับดุลรอเซ๊ะ โต๊ะเจ๊ะ
นายมะดาโอ๊ะอาบูดี
3.
หลักการและเหตุผล

หนึ่งในศูนย์รวมจิตใจของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามคือ "มัสยิด" หรือ "สุเหร่า" โดยชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การละหมาด (การนมาซ) และการวิงวอนขอพร การปลีกตนเพื่อบำเพ็ญตบะ หรือหาความสันโดษ ซึ่งพิธีปฏิบัติดังกล่าวสอดคล้องกับความหมายของคำว่ามัสยิดที่มีรากคำมาจากภาษาอาหรับ ที่แปลใจความได้ว่า "สถานที่กราบ" สำหรับประเทศไทยตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย พบว่า มัสยิดอยู่ราว 3,722 แห่งตั้งอยู่ทั่วประเทศใน68จังหวัด โดยอยู่ใน14 จังหวัดภาคใต้ มากที่สุดคือ 3,158 แห่ง
นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าบทบาทของมัสยิดในปัจจุบัน มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการที่สามารถทำให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนได้ เช่น ปัจจัยทางด้านกฎหมายที่กำหนดให้มัสยิดเป็นนิติบุคคล ปัจจัยทางด้านบุคลากรในชุมชนและคณะกรรมการมัสยิดที่มีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น ปัจจัยด้านข้อมูลข่าวสารและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อีกทั้ง มัสยิดเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอ่านและศาสนา เป็นสถานที่ชุมนุมพบปะ ประชุม เฉลิม ฉลอง ทำบุญเลี้ยง สถานที่พิธีสมรส และสถานที่พักพิงของผู้สัญจรผู้ไร้ที่พำนัก เป็นพื้นที่รวมจิตใจของคนในชุมชน ความเป็นชุมชนเกิดขึ้นเมื่อคนในชุมชนมารวมตัวกันมีปฏิสัมพันธ์กัน มีวิถีดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกัน มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน ตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัวไปสู่ระดับเครือญาติ จนกระทั่งระดับหมู่บ้าน ระดับตำบลหรือระดับที่ใหญ่ขึ้น (พงค์เทพ สุธีรวุฒิและคณะ, 2559)
พฤติกรรมสุขภาพชุมชน หมายถึง พฤติกรรมใดๆ ของคนในชุมชน หรือพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลที่อยู่ในชุมชน พฤติกรรมที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นส่วนรวมหรือวิถีปฏิบัติต่อสาธารณะ เมื่อปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลดีหรือเสียต่อสุขภาพ รวมทั้งนำไปสู่โรคภัยและอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้มีผลมาจากความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ การรับรู้และการปฏิบัติทางสุขภาพที่เหมาะสม เช่น การทิ้งขยะ การเคารพกฎจราจร การขับขี่ยานยนต์ การข้ามทางม้าลาย หรือทางข้าม เป็นต้น ทั้งนี้ พฤติกรรมสุขภาพมีหลายรูปแบบ การพัฒนาชุมชนที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลหรือผู้แทนของกลุ่ม องค์กรต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการกำหนดทิศทางในการพัฒนา ร่วมตัดสินใจในอนาคตของชุมชน ร่วมดำเนินกิจกรรมพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น เทคนิคกระบวนการมีส่วนร่วมจะช่วยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและตัดสินใจ ร่วมสร้างความเข้าใจการดำเนินงาน มีการยอมรับ มีความรัดชอบในฐานะสมาชิกของชุมชน เกิดความเป็นเจ้าของและเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในผลงานที่ตนมีส่วนร่วม กระบวนการพัฒนาชุมชนจึงเกิดความต่อเนื่องและก่อให้เกิดความสำเร็จสูง กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นอาจจะกระทำได้ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและลักษณะที่ไม่เป็นทางการ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ ให้ทัดเทียมกับพื้นที่อื่นๆ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้, 2557) ซึ่งมัสยิด สถาบันศึกษาปอเนาะ และวัด เป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมนไทยพุทธและไทยมุสลิมและตั้งเป้าหมายดำเนินการให้เป็นต้นแบบของศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ การดำเนินการจะพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารจัดการเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาความต้องการของพื้นที่มากที่สุด จากผลการดำเนินงานพัฒนาศาสนสถาน ที่ผ่านมาพบว่า วัดผ่านเกรฑ์การประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 95.9 มัสยิดผ่านเกณฑ์ประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ85.2 สถาบันการศึกษาปอเนาะยังผ่านเกณฑ์การประเมินศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ74.6ทั้งนี้ตัวชี้วัดภาพรวมต้องผ่านร้อยละ80 ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดของสถาบันศึกษาปอเนาะยังไม่ผ่านเกณฑ์และพบว่า ศาสนสถานส่วนใหญ่ยังคงมีปัญหาด้านสภาพโครงสร้างด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมสุขภาพ (นงลักษณ์ , 2557) จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศาสนสถาน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการชุมชนที่นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้ง4มิติ ประกอบด้วย มิติทางกาย มิติทางสติปัญญา มิติด้านสังคม และมิติด้านจิตวิญญาณ ซึ่งมิติเหล่านี้เชื่อมโยงกันอย่างมีพลวัตร จากเหตุผลดังกล่าวคณะกรรมการมัสยิดบันนังยะลาปัน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมศาสนสถานต้นแบบด้านการจัดการสุขภาวะจึงได้จัดโครงการมัสยิดสร้างเสริมสุขภาวะ เพื่อให้ผู้นำศาสนา คณะกรรมการตลอดจนผู้เข้าร่วมอมรมมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง 4 มิติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพตนเองในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี และเพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้นำศาสนา คณะกรรมการตลอดจนผู้เข้าร่วมอมรมมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง 4 มิติ
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพตนเองในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมมัสยิดสร้างเสริมสุขภาพ
    รายละเอียด
    • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน80 คนๆละ 80 บาทจำนวน1 มื้อ 6,400 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 35 บาทจำนวน 2 มื้อ 5,600 บาท
    • ค่าวิทยากรศาสนา จำนวน 3 ชั่วโมง 1,800 บาท
    • ค่าวิทยากรอบรมมัสยิดสร้างเสริมสุขภาพ 4มิติจำนวน3 ชั่วโมงๆละ600 บาท1,800 บาท
    • ค่าวิทยากรรายกลุ่ม ฮาลาเกาะห์ สัปดาห์ละ 2 ชม.ๆละ 600 บาทจำนวน3สัปดาห์เป็นเงิน1,800 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 13 ม.(ตร.ม.ละ 250 บาท )750 บาท
    งบประมาณ 18,150.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 6บ้านต้นทุเรียน ตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 18,150.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้นำศาสนา คณะกรรมการตลอดจนผู้เข้าร่วมอมรมมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะทั้ง 4 มิติ
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพตนเองในการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี 3.ผู้เข้าร่วมอบรมมีวิธีการลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในการดำเนินชีวิตประจำวัน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง รหัส กปท. L3032

อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง รหัส กปท. L3032

อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 18,150.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................