กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมดูแลผู้สูงวัย ติดบ้าน ติดเตียง ตลิ่งชัน ใส่ใจรักสุขภาพ 2564 (02-25)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน

ตำบลตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึงคนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆทุกปีเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนางานด้านสาธารณสุขทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้นและมีอายุยืนยาวทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพและดูแลเอาใจใส่เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติมาก่อนสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลานแต่ปัจจุบันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้นทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ฉะนั้นผู้สูงอายุควรต้องได้รับความรู้ในเรื่อง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นต้นเพื่อที่จะสามรถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุดและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้คนรอบข้างหรือครอบครัวทั้งสังคมมีความสุขด้วยและครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุดถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุขและทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัวดังกล่าวจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน
จากการสำรวจผู้สูงอายุในตำบลตลิ่งชันปี2563 พบว่ามีผู้สูงอายุทั้งหมดจำนวน 1,690 ราย โดยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุได้เป็น 3 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้แตกต่างกัน กลุ่มที่ 1กลุ่มติดเตียงมี จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.35 ซึ่งอยู่ในกลุ่มติดเตียง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น กลุ่มที่ 2 ติดบ้าน มีจำนวน 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.95ซึ่งกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วนกลุ่มที่ 3 กลุ่มติดสังคม มีจำนวน 1651 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.69 ซึ่งกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่พบว่าผู้สูงอายุส่วยใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ในการปฏิบัติตัว
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้เห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการขึ้นมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และญาติที่จะสามารถดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการปฏิบัติตนและสามารถดูแลตนเองถูกต้องตามสมรรถนะ

ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี  ร้อยละ 90

100.00 100.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึงคนที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มจำนวนของผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อย ๆทุกปีเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนางานด้านสาธารณสุขทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้นและมีอายุยืนยาวทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ผู้สูงอายุถือได้ว่าเป็นทรัพยากรของชาติที่มีคุณค่าทุกคนควรให้ความรักเคารพและดูแลเอาใจใส่เนื่องจากเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติมาก่อนสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และวัฒนธรรมอันดีไปสู่ลูกหลานแต่ปัจจุบันผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้นทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ฉะนั้นผู้สูงอายุควรต้องได้รับความรู้ในเรื่อง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นต้นเพื่อที่จะสามรถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุดและส่งผลให้จิตใจสดชื่น แจ่มใส ช่วยให้คนรอบข้างหรือครอบครัวทั้งสังคมมีความสุขด้วยและครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญที่สุดถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุขและทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัวดังกล่าวจึงได้ทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน
จากการสำรวจผู้สูงอายุในตำบลตลิ่งชันปี2563 พบว่ามีผู้สูงอายุทั้งหมดจำนวน 1,690 ราย โดยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุได้เป็น 3 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้แตกต่างกัน กลุ่มที่ 1กลุ่มติดเตียงมี จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.35 ซึ่งอยู่ในกลุ่มติดเตียง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น กลุ่มที่ 2 ติดบ้าน มีจำนวน 33 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.95ซึ่งกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วนกลุ่มที่ 3 กลุ่มติดสังคม มีจำนวน 1651 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.69 ซึ่งกลุ่มนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่พบว่าผู้สูงอายุส่วยใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ในการปฏิบัติตัว
จากปัญหาดังกล่าว จึงได้เห็นความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการขึ้นมาเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และญาติที่จะสามารถดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 39
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง ศาสนากับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเน้นการดูแลสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง ศาสนากับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเน้นการดูแลสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 2 คน 3 ชั่วโมงๆละ  300 บาท
                         เป็นเงิน  1,800.-บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากรปฏิบัติ จำนวน 2 คน 3 ชั่วโมงๆละ  250 บาท       
                         เป็นเงิน  1,500.-บาท 3. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการฯ  ขนาด 1.2 × 2.4 เมตรจำนวน 1  ป้าย                     เป็นเงิน  1,000.-บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 117 คนๆ ละ 25 บาท (1 มื้อ)                   เป็นเงิน  2,925 บาท 5. ค่าอาหาร จำนวน 117 คนๆ 1 มื้อๆละ 50 บาท       เป็นเงิน  5,850.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เป้าหมาย 1.ผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง  13 หมู่จำนวน 6ราย 2.ผู้ดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง 13 หมู่ จำนวน 12 ราย 3.ผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน 13 หมู่ จำนวน 33  ราย 4.ผู้ดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง 13 หมู่ จำนวน 66 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13075.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 2 ครั้ง/ราย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 2 ครั้ง/ราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมประชุมวางแผนการเยี่ยมบ้านกับทีม อสม.ในแต่ละพื้นที่ - จัดทีม อสม.ลงเยี่ยมบ้านทุกวันศุกร์ - ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุติดเตียงทุกราย 6. ค่าชุดกระเป๋าแพทย์เคลื่นที่พร้อมอุปกรณ์ทางการพยาบาล ประกอบด้วยดังนี้ - กระเป๋าแพทย์เคลื่นที่ สะพายจำนวน 2 ใบๆละ 400 บาท  เป็นเงิน 800 บาท
- เครื่องวัดความดันOMRON จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,500บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - เครื่องวัดน้ำตาลในเลือดจำนวน 2 เครื่องๆละ 1,250บาท เป็นเงิน 2,500   บาท - Accu-check เข็มใช้แล้วทิ้ง    จำนวน 10 กล่องๆละ 800 บาท
                        เป็นเงิน 8,000 บาท - Next Health test strip จำนวน 38 กล่องๆละ 300 บาท
                        เป็นเงิน 11,400 บาท - ปรอทวัดไข้ทางปาก จำนวน 10  อันๆละ 35 บาท  เป็นเงิน  350      บาท    รวมเป็นเงิน  36,125.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เป้าหมาย 1.ผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง  13 หมู่จำนวน 6ราย 2.ผู้ดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง 13 หมู่ จำนวน 12 ราย 3.ผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้าน 13 หมู่ จำนวน 33  ราย 4.ผู้ดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง 13 หมู่ จำนวน 66 ราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,125.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการปฏิบัติตนและสามารถดูแลตนเองถูกต้องตามสมรรถนะ
2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดี
3.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการการดูแลอย่างทั่วถึง
4.เพื่อสร้างกำลังใจผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิต
5.เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดเตียง กลุ่มติดบ้านมีความรู้ในการดูแลได้ถูกต้อง ส่งให้ผู้สูงอายุ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน


>