กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการขยะชุมชนบ้านยือแร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

กลุ่มมัสยิดนูรุลอีมาน

นายมุตาดี เจ๊ะมะ
นายอิสมาแอเจ๊ะมะ
นายนัซมี ดอเลาะ
นายมาหามะรีเป็งซอแนะ

หมู่ที่2 บ้านยือแรตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนต่อวันใน พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ประมาณ 27.37 ล้านตัน หรือ 74,998 ตันต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2559 ร้อยละ 1.15ที่มีปริมาณเกิดขึ้น 27.06 ล้านตัน เนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของประชากรและการขยายตัวของชุมชนเมือง ในขณะที่ อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคน ประมาณ 1.13 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ลดลงจาก พ.ศ. 2559 ซึ่งมีปริมาณ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ทั้งนี้ เป็นขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ประมาณ 4.86 ล้านตัน คิดเป็น ร้อยละ 18 และในพื้นที่ 76 จังหวัด ประมาณ 22.51 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 82 เมื่อพิจารณาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2551-2560) พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นต่อวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
จังหวัดปัตตานี มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมประมาณ630 ตันต่อวัน โดยเป็นขยะมูลฝอยจากเทศบาลประมาณ182 ตันต่อวัน และจากองค์การบริหารส่วนตำบลประมาณ448ตันต่อวันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปัตตานีที่มีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยมีจำนวน51แห่ง ปริมาณขยะมูลฝอยที่รวบรวมได้มีประมาณวันละ158 ตัน มีสถานที่กำจัดขยะมูลอย่างถูกหลักสุขาภิบาล จำนวน1แห่ง คือสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองปัตตานีมีขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบประมาณ 63ตันต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี ส่วนปริมาณขยะมูลฝอยที่เหลืออีก95 ตันต่อวันมีการนำไปกำจัดอย่างไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ตามหลักวิชาการ (สำนักงานเทศบาลเมืองปัตตานี, 2560) จังหวัดปัตตานีได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาและความต้องการในพื้นที่ โดยแยกแต่ละอำเภอ ประกอบด้วย12อำเภอ โดยพบว่า อำเภอยะรัง ประเด็นปัญหา ความต้องการและแนวทางการแก้ไข ประกอบด้วย 1) ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2)ด้านสังคม 3) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 4) ด้านเศรษฐกิจและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี และ 5) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปี2558รัฐบาลไทยได้ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ 7,777 แห่ง พบว่ามีเพียง328 แห่งหรือไม่ถึง ร้อยละ 5ของสถานที่กำจัดทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์และกำจัดได้อย่างถูกต้องปริมาณขยะที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องจากสถานที่เหล่านี้คิดเป็นร้อยละ26.34 ของปริมาณขยะเกิดใหม่รวมกับขยะตกค้างทั้งหมด และขยะที่เหลือกว่าร้อยละ73.26 นั้นถูกกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เกิดสภาพเทกอง เผากลางแจ้ง เผาในเตาที่ไม่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ และฝั่งกลบแบบเทกองควบคุม หรือไม่ถูกกำจัดเลย อุปสรรค์ของการกำจัดขยะให้ถูกวิธี เช่น งบประมาณในการทำสถานที่กำจัดขยะแบบถูกต้องมีค่าใช้จ่ายสูง มีขั้นตอนและเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย ทั้งในแง่ของการมาตรฐานการกำจัด และการขออนุญาตให้ถูกต้อง การหาพื้นที่ที่เหมาะสม การเตรียมพื้นที่ การดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะและคนในชุมชนใกล้เคียง3 จุดคุ้มทุนของการลงทุนระบบเนื่องจาก เตาเผาขยะ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากแต่บางที่เปิดไปสักพักต้องปิด เพราะไม่มีจำนวนขยะ “ดี” เพียงพอเอามาเปลี่ยนเป็นพลังงานหรือไฟฟ้า เป็นต้น (รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ, 2559)
ปัญหาขยะมูลฝอย หมายถึง ขยะทั่วไปที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน ตลาด ร้านค้า และโรงงานในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากมือมนุษย์ ซึ่งมีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับไปใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจาก ขยะเทกอง ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ในทะเล เป็นต้น
จากสถานการณ์ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นจะเห็นได้ว่า จุดเริ่มต้นของปัญหา คือ การขาดความรู้ ทักษะในการจัดการขยะที่ถูกต้อง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากแต่ละครัวเรือน ในการนี้ทางชุมชนได้เล็งถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงจัดทำโครงการการจัดการขยพชุมชนบ้านยือแร ขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเขา้ใจในเรื่องของการจัดากรขยะชุมชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลัก และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะชุมชน

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ข้าร่วมอบรมมีแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลัก 3Rs

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่่ได้ไปใช้ในเกิดประโยชน์ต้อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดการขยะบ้านยือแร

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะบ้านยือแร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน  4,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน  3,500 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 2 ท่านๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  3,600 บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลขนาด 1*3 ม (ตร.ม.250 บาท)  เป็นเงิน 750 บาท
  5. ค่าตะแกรงแยกขยะ      เป็นเงิน   5,590 บาท
    6.ค่าวัสดุอุปกรณ์   เป็นเงิน   2,560  บาท
        - ค่าไม้กวาดดอหญ้าจำนวน 10 อันๆละ  49 บาท  เงิน 490 บาท     - ค่าไม้กวาดทางมะพร้าว 10 อันๆละ  69 บาท เงิน 690 บาท     - ค่าโกยขยะ จำนวน  10 อันๆละ  59 บาท เงิน 590 บาท     - ถุงดำ  จำนวน 10 แพ็คๆละ  79 บาท เงิน  790 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 มิถุนายน 2564 ถึง 17 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะ
  2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน
  3. เกิดชุมชนต้นแบบ (ยือแรชุมชนปลอดถังขยะ)
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะ
2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน
3. เกิดชุมชนต้นแบบ (ยือแรชุมชนปลอดถังขยะ)


>