กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาหญิงวัยเจริญพันธ์ สู่ การตั้งครรภ์คุณภาพ ตำบลยะรัง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

รพสต.ยะรัง

หมู่ที่ 1-6 ตำบลยะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1

การฝากครรภ์เป็นมาตรการหนึ่งในการบริบาลและเฝ้าระวังความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ไปรับบริการดูแลครรภ์จากบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างน้อย 5 ครั้ง และควรไปฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายของมารดาและทารกในภาพรวม รวมทั้งมารดาได้รับการตระเตรียมในการเลี้ยงดูทารกที่จะเกิดมา ย่อมส่งผลต่อคุณภาพเด็ก ไทยในอนาคต จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการฝากครรภ์ ได้แก่ ระบบบริการ การคมนาคม การย้ายถิ่นที่อยู่ ค่าใช้จ่าย และภาระงาน ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้ไปฝากครรภ์ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลและแรงสนับสนุนจากครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาอนามัยแม่และเด็ก เป็นลำดับต้น ๆ และได้นำแนวคิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลยะรัง มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการอนามัยแม่และเด็ก แม้นว่าในหลายปีที่ผ่านมา ในพื้นที่ตำบลยะรังไม่พบ มารดา และเด็กตายคลอด แต่ก็ยังพบว่า ยังมีมารดาที่มาฝากครรภ์ช้า คือ มารดามาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ร้อยละ 73.4 ,80.50,82.20.84.40,84.40 ในปี 254=- 2563 ตามลำดับ และมาฝากครรภ์ก่อนคลอด ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 67.20,71.10,72.30,73.40 และ 74.40 ในปี 2559-2563 ตามลำดับ ซึ่งการกระตุ้นให้หญิงมีครรภ์เพิ่มการฝากครรภ์ให้ครอบคลุมให้มากที่สุด เป็นการลดความเสี่ยงที่จะทำให้มารดาและทารกสูญเสียชีวิตหรือพิการระหว่างตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอดได้ ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาสุขภาพในงานอนามัยแม่และเด็ก จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มเป้าหมายในปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาหญิงวัยเจริญพันธ์ สู่ การตั้งครรภ์คุณภาพ ตำบลยะรัง ปี 2564 ขึ้น

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมย่อย กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมย่อย กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน
      จำนวน 50 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 2 ครั้ง
                                               เป็นเงิน  8,000  บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ ดำเนินงาน จำนวน 50 คน ๆ ละ 30 บาท/มื้อ/วันละ 2 มื้อ จำนวน  2 ครั้ง                        เป็นเงิน  6,000  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 10 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท
       จำนวน 2 คน                       เป็นเงิน  6,000  บาท
  • ค่าวัสดุ/เอกสาร                     เป็นเงิน  3,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านอนามัยแม่และเด็ก ร้อยละ 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23000.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเชิงรุกเพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไวก่อน 12 สัปดาห์ การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเชิงรุกเพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์เร็ว ฝากครรภ์ไวก่อน 12 สัปดาห์ การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันในการรณรงค์เชิงรุกในหมู่บ้าน เยี่ยมดูแล
      ของ อสม. เจ้าหน้าที่ และหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อ เฝ้าระวังและ   ติดตาม ชุมชนละ 10 คน 6 ชุมชน ๆ ละ 2 ครั้ง  วันละ 80
      บาท                                เป็นเงิน 9,600  บาท
  • ค่าอาหารกลางว่างและเครื่องดื่ม ในการรณรงค์เชิงรุกใน   หมู่บ้าน เยี่ยมดูแล ของ อสม. เจ้าหน้าที่ และหญิงวัยเจริญ   พันธ์เพื่อ เฝ้าระวังและติดตาม ชุมชนละ 10 คน 6 ชุมชน ๆ
       ละ 2 ครั้ง  วันละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท
                                                  เป็นเงิน  7,200  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • หญิงมีครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และได้รับการดูแลหลังคลอด ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,800.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายถั๋วเฉลี่ยตามที่จ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

หญิงวัยเจริญพันธ์ ที่ตั้งครรภ์ ได้รับการดูแล ก่อนคลอด หลังคลอด ตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก


>