กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด เป็นต้น จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2550 พบว่าคนไทยที่อายุเกิน 15 ปี และสูบบุหรี่มากถึงเกือบ 11 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ 9.5 ล้านคนสูบบุหรี่เป็นประจำและ อีก 1 ล้านคนเศษ สูบเป็นครั้งเป็นคราว เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ พ.ศ.2549 พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในขณะนี้ลดลงเพียงเล็กน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 5) เชื่อกันว่าเป็นผลมาจากประเทศไทยไม่มีการให้บริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบและไม่ทั่วถึง จากการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวพบว่าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เลิกสูบบุหรี่ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคอันสืบเนื่องจากการสูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 4 หรือกว่า 2 ล้านคน จากสถานการณ์ข้อมูลการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ในจังหวัดปัตตานี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า ร้อยละของการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 19.18 ,18.20 ,21.74 ตามลำดับ ในอำเภอหนองจิก ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า ร้อยละของการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 5.30 ,13.88 ,16.39 ตามลำดับ ในพื้นที่ตำบลยาบี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า ร้อยละของการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 6.96 ,5.29 ,26.39 ตามลำดับ (แหล่งข้อมูลจาก HDC จังหวัดปัตตานี ณ 18 ธันวาคม 2563) ซึ่งแนวโน้มการคัดกรองบุหรี่ในกลุ่มประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กระทรวงวางไว้ และจากการสำรวจข้อมูลของผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับยาจาก รพ.สต.ยาบี ทั้งหมด 45 ราย มีพฤติกรรมที่สูบหรี่/ใบจาก จำนวน 12 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.67% (แหล่งที่มาของข้อมูล : จากการสำรวจในคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.ยาบี)
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า กลุ่มเยาวชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ยังมีการคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในชุมชนยังไม่ทั่วถึง ทำให้การคัดกรองยังไม่ผ่านเกณฑ์ ทำให้กลุ่มเยาวชนมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง และเป็นสาเหตุหลักทำให้เกิดอยากรู้อยากลอง เพื่อนชวน มีภาวะเครียด สภาพแวดล้อมในชุมชม รวมไปถึงบุคคลในครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี ส่งผลทำให้บุตรหลานในครอบครัว มีพฤติกรรมเกิดการเลียนแบบจากผู้ใหญ่ เป็นต้น ส่วนกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการที่ รพ.สต.ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และใบจากอีกด้วย ซึ่งมันจะส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไต ฯลฯ อีกทั้งในชุมชนยังไม่มีมมาตรการทางสังคมหรือยังไม่มีกฎกติกาในชุมชน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญในกลุ่มนี้ จึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ในชุมชน ตำบลยาบี อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปี ๒๕๖๔”นี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่และโทษของพิษภัยบุหรี่ที่ถูกต้อง

๑.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ ร้อยละ 85

85.00 100.00
2 ๒. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก บุหรี่ได้

๒. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ร้อยละ 100 2.2 กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก (ด้านบุหรี่ได้สำเร็จ) ร้อยละ 10

50.00 100.00
3 ๓. เพื่อให้มัสยิด วัด โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดเขตบุหรี่

๓. ร้อยละของมัสยิด วัด โรงเรียน เป็นสถานที่ปลอดเขตบุหรี่ ร้อยละ ๑๐๐

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 194
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ แก่ อสม. ,แกนนำชุมชน/ผู้นำศาสนา , แกนนำครูและนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการ แก่ อสม. ,แกนนำชุมชน/ผู้นำศาสนา , แกนนำครูและนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิก บุหรี่ แก่ อสม. จำนวน 38 คน
(กิจกรรมย่อย : สร้างแกนนำ อสม. หมู่บ้านละ 2 คน เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 15ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ 2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) 3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ 4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7550.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่ในชุมชน ร้านค้า และมัสยิด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่ในชุมชน ร้านค้า และมัสยิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่ในชุมชน ร้านค้า และมัสยิด ให้กับกลุ่มผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา หมู่ละ 6 คน จำนวน 6 หมู่บ้าน จำนวน 36 คน (กิจกรรมย่อย : ติดตาม สำรวจร้านค้า/ร้านชำในชุมชน และสังเกตการณ์มัสยิดโดยผู้นำชุมชน และผู้นำศาสนา)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ 2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) 3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ 4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7308.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่และยาเสพติดในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่และยาเสพติดในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมชี้แจงและให้ความรู้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานบุหรี่และยาเสพติดในโรงเรียน ให้กับครูและนักเรียน จำนวน 3 แห่งๆ ละ 20 คน จำนวน 60 คน (กิจกรรมย่อย : สร้างแกนนำครู เพื่อสังเกตการณ์พร้อมเฝ้าระวังนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในการสูบบุหรี่และใช้ยาเสพติด โรงเรียนละ 2 คน) หมายเหตุ : โรงเรียน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านคลองช้างโรงเรียนบ้านยาบี และโรงเรียนยาบี บรรณาวิทย์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ 2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) 3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ 4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10878.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ในชุมชน และตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ในชุมชน และตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ในชุมชน และตรวจคัดกรองพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สูบบุหรี่/ใบจาก จำนวน 50 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ 2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) 3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ 4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9750.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้านในกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกบุหรี่โดย อสม. จำนวน 12 คน (6 หมู่บ้านๆ ละ 2 คน)ติดตาม เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ 2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) 3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ 4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 6 จัดเวทีถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีถอดบทเรียน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย - แกนนำ อสม. จำนวน 12 คน - แกนนำครู จำนวน 6 คน - ผู้นำชุมชน/ผู้นำศาสนาจำนวน 12 คน - บุคคลต้นแบบ (คนที่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) จำนวน 10 คน
- เจ้าหน้าที่กองทุนฯจำนวน 10 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่ 2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ) 3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่ 4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,686.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลด ละ เลิกบุหรี่
2.มีบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพ (คนเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ)
3.ผู้นำศาสนา อสม.และกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษพิษภัยของบุหรี่
4.เกิดมาตราการทางสังคมหรือมีกฏกติกาในชุมชน


>