กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพบ้านท่าพยอม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน บ้านท่าพยอม

1.นายปิยะพงศ์ ปากบารา

2.นายวิรัตน์ จิเหม

3.น.ส.มะลิวัลย์ พรหมดำ

4.นางอุไร หลีหมัน

5.น.ส.ซอยหนาบ ยาประจัน

บ้านท่าพยอม ม.7 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

37.00

หลักการและเหตุผล

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ มักจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจและสังคม โดยเฉพาะทางร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมลง ดังนั้นการใส่ใจในเรื่องโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญ ผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานและสารอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เช่นเดียวกับบุคคลวัยอื่นๆ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจเรื่องอาหารและโภชนาการเป็นอย่างดี ซึ่งความต้องการสารอาหารและพลังงานในผู้สูงอายุแต่ละราย ก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูงและการใช้พลังงานในแต่ละวัน ในหมู่บ้านท่าพยอม มีผู้สูงอายุที่มีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม จำนวน 10 คน และผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน ทั้งนี้เพื่อให้รู้ทันทุกสัญญาณอันตรายและภัยร้ายที่มาจากภาวะความดันโลหิตสูง อสม.ประจำหมู่บ้านจึงให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุแต่ยังขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องวัดความดันโลหิต ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านจึงให้ความสําคัญและจัดทำโครงการผู้สูงวัยใส่ใจสุขภาพ เพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมของผู้สูงอายุและด้านการแพทย์แผนไทย สมุนไพร และอบรมสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพร เช่น ยาดมสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร เป็นต้น ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความเข้าใจในด้านโภชนาการ และการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของสมุนไพรไทย รู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

37.00 55.00
2 เพื่อการดูแลผู้สูงอายุอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพจากการตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ

37.00 70.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านการใช้สมุนไพร

ผู้สูงอายุมีความรู้การใช้สมุนไพร

37.00 59.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ 27
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ในเรื่องของโภชนาการที่เหมาะสมและส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในเรื่องของโภชนาการที่เหมาะสมและส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ x 35 คน x 35 บาท เป็นเงิน 1,225 บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x 35 คน x 100 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
-ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 4 ชม. เป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าป้ายไวนิล 600 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการและสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10525.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์

ชื่อกิจกรรม
จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง x 2,500 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้ทราบผลค่าความดันโลหิตของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 การสาธิตเชิงปฏิบัติการด้านแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
การสาธิตเชิงปฏิบัติการด้านแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 คน

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ x 35 คน x 35 บาท เป็นเงิน 1,225 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x 35 คน x 100 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท

-ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x 4 ชม. เป็นเงิน 2,400 บาท

-ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิต 13,100 บาท

-คู่มืออบรม 700 บาท

-ค่าเข้าเล่มสรุปผลการดำเนินงาน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้ฝึกปฏิบัติการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อใช้ดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21225.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 36,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลส่งเสริมสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีโภชนาการที่ดีขึ้น และได้รับการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึง


>