กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ และเด็กที่มารับบริการวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๕ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ และเด็กที่มารับบริการวัคซีน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๕ ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๕

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๕

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในช่วงตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และมีพฤติกรรมการกินอาหารระหว่างมื้อมากกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบและฟันผุได้ง่าย ฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้โดยผ่านทางน้ำลาย และถือว่าแม่เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อที่สำคัญมาสู่ลูก ดังนั้น การลดปริมาณเชื้อในน้ำลายของแม่โดยการควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ด้วยการขูดหินน้ำลายเพื่อลดการส่งผ่านเชื้อจากแม่สู่ลูก จึงเป็นวิธีการป้องกันโรคในช่องปากที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง การดูแลสุขภาพช่องปากให้กับหญิงมีครรภ์ด้วยการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่แม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ของแม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ควรบูรณาการไปพร้อมกับการให้บริการทันตกรรมในหญิงมีครรภ์ หากหญิงมีครรภ์ที่สามารถดูแลความสะอาดช่องปากของตนเองได้ดีจะแสดงให้เห็นถึงความมีพฤติกรรมที่ดีในการดูแลตนเองของแม่และจะส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกด้วย
จากผลการสำรวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๕๙, ๒๕๖๐, ๒๕๖๑ และ ๒๕๖๒ พบปัญหาดังนี้ ปัญหาโรคฟันผุในเด็กก่อนวัยเรียน มีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ ๕๓.๑, ๖๕.๕, ๘๑.๐ และ ๘๙.๐ ตามลำดับ เฉลี่ยผุคนละ ๒.๗, ๓.๖, ๕.๐ และ ๖.๒ ซี่ ตามลำดับปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีผลกระทบโดยตรงต่อสภาวะโรคฟันผุในเด็กเล็ก เนื่องจากประชาชนต้องประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งรวมถึงค่ารักษาฟันด้วย ปัญหาด้านสังคมปัจจุบันพ่อแม่ ผู้ปกครอง ต้องทำงานนอกบ้าน ไม่ค่อยมีเวลา ดูแลอยู่กับลูก ประกอบกับขาดความรู้ และไม่เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพฟันของลูกทำให้เด็กมีฟันผุมากขึ้นปัญหาสิ่งแวดล้อม การโฆษณาขนมหวานผ่านสื่อต่างๆและการหาซื้อได้ง่ายในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมให้เด็กเล็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุมากขึ้นดังนั้นการสร้างจิตสำนึกที่บ้านเป็นสิ่งสำคัญในการปูพื้นฐานการดูแลทันตสุขภาพที่ดี โดยผู้ปกครองเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมให้เด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง มีความรู้ และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๕ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์และเด็กที่มารับบริการวัคซีน ภายใต้โครงการโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวเพื่อส่งเสริมให้หญิงมีครรภ์เข้าใจปัญหา และสาเหตุของโรคในช่องปากตลอดจนการป้องกัน เห็นความสำคัญของการสร้างพฤติกรรมทันตสุขภาพที่ดีตั้งแต่ตั้งครรภ์ และนำความรู้ที่ได้ไปดูแลสุขภาพช่องปากของลูกต่อไปและสติปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง มีความรู้และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากหญิงมีครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรก
2. เพื่อให้หญิงมีครรภ์ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง
3. เพื่อให้บริการทันตกรรมแก่หญิงมีครรภ์
4. เด็กคลินิกเด็กดีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช
5. ผู้ปกครองของเด็กที่มารับบริการในคลินิกเด็กดีสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง และเด็กได้อย่างถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กที่มารับวัคซีน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หลักสูตรที่ 1 อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์หลักสูตรที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก

ชื่อกิจกรรม
หลักสูตรที่ 1 อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์หลักสูตรที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณจากกองทุนสุขภาพตำบล จำนวน 17,950 บาท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

หลักสูตรที่ 1 อบรมให้ความรู้ทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 50 คน × 25 บาท × 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน × 50 บาท × 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม. × 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 เมตร × 3 เมตร รวมเป็นเงิน 750 บาท รวมเป็นเงิน 9,350 บาท

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก - ค่าอาหารว่าง และเครื่องดื่ม 50 คน × 25 บาท × 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 คน × 50 บาท × 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม. × 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 8,600 บาท

งบประมาณรวมทั้งหมด 17,950 บาท หมายเหตุ งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ 90
2. หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ร้อยละ 90
๓. หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับบริการทันตกรรม ร้อยละ 80
๔. เด็กคลินิกเด็กดีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ 80
๕. ผู้ปกครองเด็ก 9-12 เดือน ได้รับการฝึกแปรงฟัน ร้อยละ 80


>