แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับขยะอันตรายเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป จากสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปีพ.ศ. 2560 พบว่า ของเสียอันตรายหรือ ขยะมลพิษ จากการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ.2559-2564 ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2560 พบว่า มีขยะมูลฝอยชุมชนเกิดขึ้น 27.39 ล้านตัน จัดการได้แล้ว 7.53 ล้านตัน คิดเป็น 28% ขยะมูลฝอยตกค้าง 30.49 ล้านตัน จัดการได้แล้ว 24.96 ล้านต้น คิดเป็น 82% และของเสียอันตรายชุมชน 606,319 ตัน จัดการได้แล้ว 545 ตันคิดเป็น 0.09% ซึ่งส่วนหนึ่งจะถูกจัดเก็บและทำลายตามข้อกำหนดของกฎหมาย แต่สำหรับของเสียที่เกิดจากกิจกรรมในสำนักงาน หน่วยงาน ราชการ รวมทั้งร้านค้า และบ้านเรือนประชาชนทั่วไปขยะอันตราย เป็นขยะที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่น ถือเป็นขยะอันตรายที่จำเป็นต้องแยกทิ้งต่างหากเนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ ได้แก่ ติดไฟง่าย ระเบิดได้ มีสารกัดกร่อน ขยะพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ กระป๋องยาฆ่าแมลง เครื่องสำอาง น้ำมันเครื่อง ภาชนะน้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ ฯลฯ โลกปัจจุบันของมนุษย์ทุกวันนี้ เป็นโลกแห่งยุคเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ของใช้เกือบจะทุกชนิดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษต่างๆ มากมาย ถ้าจัดการที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดผลเสีย มีการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่สัมผัสด้วยความเป็นห่วงเป็นใยต่อพี่น้องประชาชนในการดำเนินชีวิตและเห็นถึงความสำคัญในการคัดแยกขยะมูลฝอยของเสียอันตรายจากต้นทางที่ครัวเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ได้ร่วม กับผู้นำหมู่บ้าน คณะกรรมการทุกหมู่บ้าน เล็งเห็นปัญหา ความสำคัญที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน จึงได้จัดทำ โครงการชุมชนตำบลบูกิตร่วมใจจัดการขยะและแยกขยะอันตรายเพื่อคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมทีดี เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานราชการได้ คัดแยกและจัดการขยะอันตราย อย่างถูกวิธีได้มีส่วนร่วมในดำเนินงานด้านการคัดแยกขยะอันตราย/รวบรวม และนำไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการและรณรงค์ให้มีการคัดแยกของเสียอันตรายเพื่อนำไปสู่การกำจัดที่ถูกต้อง จึงมีวิธีในการคัดแยกขยะประเภทต่าง ๆ
-
1. เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะตัวชี้วัด : จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะตัวชี้วัด : จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
3. เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะตัวชี้วัด : จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในชุมชนรายละเอียด
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในชุมชน ใน อบต.บูกิต กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไป งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 60 บาทx 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนx 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท 3. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน 1,125 บาท 4. ค่าวัสดุประกอบการอบรม จำนวน 50 คน x 100 เป็นเงิน 5,000 บาท 5. ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชม. X 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาทงบประมาณ 15,225.00 บาท - 2. สร้างแกนนำและครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือนรายละเอียด
อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน กิจกรรม - สร้างแกนนำและครัวเรือนต้นแบบ -สาธิตการจัดการขยะอันตราย และขยะอื่นๆ กลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชนคัดเลือก ประชาชนผู้ที่สนใขเข้าร่วมกิจกรรม งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน+เครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2. ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม จำนวน 30 คนx 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท 3. ค่าวัสดุประกอบการอบรม ( สมุด ปากกากระเป๋า ) 30 คน x 100 เป็นเงิน 3,000 บาท 4. ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ชม. X 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
งบประมาณ 9,900.00 บาท - 3. รณรงค์ก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ และให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายหน้าเสาธงรายละเอียด
รณรงค์ก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ และให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายหน้าเสาธง รณรงค์ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนในตำบลบูกิตก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ จำนวน 8ครั้งๆละ 1 โรง จำนวน 8โรง ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายหน้าเสาธง จำนวน 8ครั้งๆละ 1 โรง จำนวน 8โรง กลุ่มเป้าหมาย ครูและเด็กนักเรียนในโรงเรียนในตำบลบูกิต งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่าง+เครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 8 ครั้ง เป็นเงิน 20,000 บาท 2. ค่าป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์เรื่องขยะขนาด 0.5 x 1 เมตร x 650 บาท x 15 แผ่น เป็นเงิน4,875 บาท
งบประมาณ 24,875.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
พื้นที่ดำเนินการ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต และ ในพื้นที่ ตำบลบูกิต
รวมงบประมาณโครงการ 50,000.00 บาท
หมายเหตุ : 1. ประชุมคณะผู้บริหาร พนักงานส่วนตำบล คณะกรรมการบริการจัดการขยะระดับองค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต เพื่อหารือการดำเนินโครงการ 2. เสนอโครงการของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บูกิต 3. ประชุม แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงาน 4. ประชาสัมพันธ์และประสานหน่วยงาน ผู้นำหมู่บ้านทุกหมู่เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 5. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการโครงการ 5.1 จัดประชุมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในชุมชน ใน อบต.บูกิตในกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา และประชาชนทั่วไป 5.2 จัดกิจกรรมสร้างแกนนำและครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน - ประชุมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายในระดับครัวเรือน - กิจกรรมสร้างแกนนำและครัวเรือนต้นแบบ - สาธิตการจัดการขยะอันตราย และขยะอื่นๆ 5.3 จัดกิจกรรมรณรงค์ก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ และให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายหน้าเสาธง - รณรงค์ร่วมกับนักเรียนโรงเรียนในตำบลบูกิตก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ จำนวน 8ครั้งๆละ 1 โรง จำนวน 8โรง - ให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะและแยกขยะอันตรายหน้าเสาธง จำนวน 8ครั้งๆละ 1 โรง จำนวน 8โรง 6. ประเมินผลการดำเนินงานทุกเดือน 7. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบูก
1.ประชาชนในครัวเรือนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน) 2.หน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง 3.มีแกนนำและครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง 4.ประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการคัดแยกของเสีบอันตรายจากชุมชนมากขึ้น
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต รหัส กปท. L2479
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................