กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิตพิชิตโรคความดันโลหิตสูง /โรคเบาหวาน ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

นางสาวฮุสณีย์ แวกือจิ

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

7.21
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

29.98

ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ไห้ความสำคัญโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้ ผลการดำเนินของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ในปี 2563 พบว่า จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,332 คน คัดกรองได้ 1,253 คน คิดเป็นร้อยละ 94.07 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 1.60 กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 0.72 คิดเป็นร้อยละ 0.38 ผู้ป่วยสะสมโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 375 คน คิดเป็นร้อยละ 29.98 และเป้าหมายประชากร ๓๕ ปีขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 1,623 คน คัดกรองได้ 1,528 คน คิดเป็นร้อยละ 94.15 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 1.05 ไม่พบกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยสะสมโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 7.21
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคความโลหิตสูง/โรคเบาหวาน ตามวิถีชุมชนขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือ และพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง ร้อยละ 5

7.21 5.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง ร้อยละ 5

29.98 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 65
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ตามวิถีชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ตามวิถีชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ตามวิถีชุมชน 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน * 25 บาท2 มื้อ = 3,250 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คน *60 บาท * 1 มื้อ =3,900 บาท 3.ค่าวิทยากร 6 ชม. * 600 บาท 1 วัน = 3,600 บาท 4.ค่าไวนิลโครงการขนาด 1.5 * 2 เมตร * 250 บาท * 1 ผืน =750 บาท 5.จัดทำคู่มือดูแลสุขภาพ จำนวน 65 เล่ม * 20 บาท = 1,300 บาท รวมทั้งสิ้น 12,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมอบรมร้อยละ 100 2.ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ร้อยละ 80 3.เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และเกิดหมู่บ้านต้นแบบด้านการแก้ไขปัญหาโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ผลลัพธ์ 1.ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
2.อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ลดลง 3.อสม.สามารถติดตามกลุ่มสงสัยความดันโลหิตสูงที่บ้านได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน
2.อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ลดลง


>