กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

รณรงค์คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัรตรูพืชของเกษตรกรและตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร ตำบลวังบัว ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังบัว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

รณรงค์คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัรตรูพืชของเกษตรกรและตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดเกษตรกร ตำบลวังบัว ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังบัว

อาสาสมัครสาธารณสุข

ตำบลวังบัว อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

 

9.82

วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรในประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบันการแข่งขันให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีกำไรมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง เกษตรกรจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต หรือกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย เป็นผลให้เกษตรกรมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีเข้าสะสมในร่างกายและตกค้างในกระแสเลือดได้ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้มีทั้งที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายทันที อาจมีอาการเล็กน้อย จนถึงขั้นรุนแรง ได้แก่ อาการปวดศีรษะวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ปวดแน่นท้องบางรายมีอาการรุนแรง ได้แก่ ชักตับวาย หัวใจวายและตายในที่สุด สารเคมีบางชนิดที่สะสมในร่างกายนานๆจะก่อพิษเรื้อรังทำอันตรายต่อตับ ไต กดภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนแก่เกษตรกรได้ง่าย
จากผลการดำเนินงานการคัดกรองความเสี่ยงและตรวจหาระดับของเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และดำเนินงานเฝ้าระวังโรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืชของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะลำใย โดยร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลวังบัวในปี 2557 จำนวน 150 ราย พบเกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่มีความเสี่ยง จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ3.33 และในปี 2558จำนวน 448 ราย พบเกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่มีความเสี่ยง จำนวน 174 ราย คิดเป็นร้อยละ 38.84ในปี 2559 จำนวน100 คน พบเกษตรกรมีผลเลือดปลอดภัย ร้อยละ 22.0 ไม่พบเกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่มีความเสี่ยง ในปี 2560 จำนวน 235 คนพบเกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จำวน 11 คน ร้อยละ 4.68 ในปี 2561 ได้รับการตรวจคัดกรอง 285 คน พบเกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จำวน 26 คน ร้อยละ 9.12 และในปี 2562 ได้รับการตรวจคัดกรอง 285 คน พบเกษตรกรมีผลเลือดในระดับที่ไม่ปลอดภัย จำวน 28 คน ร้อยละ 9.82
จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในตำบลวังบัว ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลวังบัว จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลวังบัว จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรและตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรตำบลวังบัว ปี 2563 ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาเกษตรกรมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)

9.82 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 285
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือดในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจคัดกรอง 2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโดยการตรวจเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และวางแผนการดำเนินงานตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง 3. การจัดกิจกรรมดำเนินงาน - ลงทะเบียน ชั่งน้ำหนัก  วัดส่วนสูง  วัดรอบเอว ตรวจวัดความดันโลหิต - ซักประวัติตามแบบคัดกรองความเสี่ยงโดยใช้แบบ นบก.1
- เจาะเลือดตรวจหาสารพิษตกค้างในเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรได้รับการตรวจหาสารเคมีในกระแสเลือด/เกษตรกรรู้ผลการตรวจคัดกรองสารเคมีของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16725.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกรมีความรู้และสามารถป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย
2.เกษตรกรกลุ่มผลผิดปกติได้รับการแก้ไขและส่งต่อ
3.เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร


>