กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี วิถีมุสลิม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

ชมรมผู้สูงอายุตำบลย่านซื่อ

1. นายอาหมาด ดาหมาด ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลย่านซื่อ
2. นายรอหิม หลงสมันกรรมการ
3. นางนุสซอร่า เจ๊ะบากรรมการ
4. นส.นูรีดา โต๊ะเจ๊ะ กรรมการ
5. นายอับดลฆอนี รูบามากรรมการ

ห้องประชุมโรงเรียนบ้านย่านซื่อ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

12.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

30.00
3 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

30.00
4 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

20.00

คุณภาพชีวิตดีเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัยขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน จากข้อมูลประชากรศึกษาพบว่าจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยมีแนวโน้มเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้เนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้อัตราตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากภาวะเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและอุบัติเหตุทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทำให้เป็นภาระแก่ผู้ดูแลอาจเป็นทุพพลภาพเป็นคนไข้ติดบ้านติดเตียงปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างไม่มีความสุขจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้แข็งแรงสมบูรณ์มีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังและการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุเพื่อควบคุมโรคไม่ให้กำเริบรุนแรงทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่าสมารถทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวและสังคมเป็นเสาหลักของลูกหลานและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิตจากข้อมูลดังกล่าว
ชมรมผู้สูงอายุตำบลย่านซื่อ เห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้พฤติกรรมสุขภาพและทัศนคติที่ดีในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุตำบลย่านซื่อ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ สุขภาพดี วิถีมุสลิม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

12.00 8.00
2 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

30.00 40.00
3 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

30.00 50.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนเพิ่มขึ้น

20.00 50.00
5 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพผู้สูงอายุได้

ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้เพิ่มขึ้นร้องละ60

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 90
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 14/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนการดำ. กิจกรรมประชุมเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ครั้ง (สำหรับการประชุมแนนำ)

ชื่อกิจกรรม
วางแผนการดำ. กิจกรรมประชุมเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ครั้ง (สำหรับการประชุมแนนำ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม20 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป้นเงิน 1000

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2564 ถึง 14 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต การประชุมจำนวน 2 ครั้ง ผลลัพธ์ เกิดการขับเคลื่อนของกลุ่มผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นเงิน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุเกี่ยวกับการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นเงิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 70 คน ๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 4,200 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 70 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6ชั่วโมงๆละ 400 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม ชุดละ 50 บาท จำนวน 70 ชุด เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2564 ถึง 16 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ๑.ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีการในการดูแลตัวเอง

๒.แกนนำผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแลได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวการดูแลผู้สูงอายุ

ผลลัพธ์ ๑.ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ในการจัดการอารมณ์ของตนเอง

๒.ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันอันจะเป็นการเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตสำหรับผู้สูงอายุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกิดกิจกรรมต่างของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

ผู้สูงอายุได้รู้จักวิธีการในการดูแลตัวเอง

แกนนำผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแลได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวการดูแลผู้สูงอายุ


>