กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันกันโรคโควิด-19

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

โรงเรียนบ้านย่านซื่อ”มิตรภาพที่ 147”

1. นางสาวนูรอบีรูบามาประธาน
2. นายเฟาซีย์หลีเยาว์ กรรมการ
3. นางสาวเกวลีขำดำ กรรมการ
4. นางสาวปรียา บิลังโหลด กรรมการ
5. นางอุไรสันงะ กรรมการและเลขานุการ

โรงเรียนบ้านย่านซื่อ”มิตรภาพที่ 147”

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

50.00
2 ร้อยละของสถานที่ในชุมชน (ตลาด ศาสนสถาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน สนามกีฬา และสถานที่ทำงาน) ที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

 

50.00

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และมีการแพร่ระบาดยังพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ อาจทำให้เกิดการระบาดระลอกใหม่โดยในพื้นที่จังหวัดสตูลได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้วจำนวน ๓ ราย และเนื่องจากตำบลย่านซื่อเป็นพื้นที่ทางผ่านไปยังตัวจังหวัดสตูลและแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ของจังหวัดสตูลมีนักท่องเที่ยวโดยระหว่างการเดินทางก็ได้แวะพักเพื่อ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมัสยิดต่าง ๆ ในตำบลย่านซื่อรวมทั้งในพื้นที่ตำบลย่านซื่อมีการร่วมละหมาดวันศุกร์ประกอบกับประกาศจุฬาราชมนตรี เรื่องมาตราการ้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ฉบับที่๑๑/๒๕๖๓ ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ และผู้ว่าจังหวัดสตูลได้มีคำสั่งจังหวัดสตูล ที่ ๔๒/๒๕๕๖๔ เรื่อง มาตรการการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19 จังหวัดสตูล ณ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๔
โรงเรียนบ้านย่านซื่อ”มิตรภาพที่ 147” จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์และมี การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับ นักเรียนในเขตพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของ นักเรียน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

50.00 80.00
2 เพื่อให้สถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19 มีเพิ่มขึ้น

ร้อยละของสถานที่ในชุมชนที่ใช้มาตรการป้องกันโควิด-19

50.00 80.00
3 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และะควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และะควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 164
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/03/2021

กำหนดเสร็จ 22/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังโรคโควิด- ๑๙ ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งคณะกรรมการเฝ้าระวังโรคโควิด- ๑๙ ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 x 2 เมตร  ตารางเมตรละ 1๕0 บาท เป็นเงิน  300 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท  เป็นเงิน  1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา 165 คน ๆ ละ 25 บาท     จำนวน  1 มื้อ    เป็นเงิน 4,125 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต     สร้างความเข้าใจและแนวทางป้องกันนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-  ๑๙ ผลลัพธ์          นักเรียนทั้งหมด รู้จักการดูแล การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5625.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เครื่องวัดอุณหภูมิ จำนวน 2 เครื่อง x  2,600 บาท = 5,200 บาท
  • อุปกรณ์เท้าเหยียบเจลแอลกอฮอล์    จำนวน 1 ชุด  x 1,900 บาท =  1,900  บาท
  • หน้ากากอนามัย (แบบผ้า)        จำนวน 17 กล่อง x 135 บาท = 2,295  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต มีวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคโควิด ผลลัพธ์ มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพออละมีคุณภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9395.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,020.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

นักเรียนทั้งหมด รู้จักการดูแล การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)


>