กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อ รพ.สต.น้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3

1. นางจริยาหมวดเพ็ง
2.นางเบญจวรรณแต่งโสภา
3.นางจำนงค์ ณะนวน
4.นางจินตนา สุขสบาย
5.น.ส.อรสา กิ้มศรี

หมู่ที่ 1 , 3 , 5 , 6 , 9 และ 10ตำบลนำ้ขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

13.68
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

3.42
3 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

35.00
4 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ

 

15.00
5 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

 

301.00
6 จำนวนหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

1.00

จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลกซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน ส่วนในประเทศไทย จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อประชากรแสนคน ในภาพรวมของประเทศในปี 2556 - 2558 เท่ากับ 14.93, 17.53 และ 17.83 ตามลำดับ เห็นได้ว่า อัตราการตายด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกปี และจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป ครั้งที่ 3, 4 และ 5 (ปี 2547, 2552 และ 2557) พบว่า ความชุกของโรคเบาหวาน ของครั้งที่ 3 ร้อยละ 7 ใกล้เคียงกับครั้งที่ 4 ร้อยละ 6.9 ส่วนครั้งที่ 5 เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 8.8 (คิดเป็น 4.8 ล้านคน)นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปี 2551 ยังพบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกในการรักษาพยาบาลโรคเบาหวานเฉลี่ย 1,172 บาทต่อราย ส่วนผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ย 10,217 บาทต่อราย รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้น 3,984 ล้านบาทต่อปี หากคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวาน รวม 3 ล้านคนต่อปี มารับบริการที่สถานพยาบาล จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลทั้งสิ้นประมาณ 47,596 ล้านบาทต่อปี (http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?)การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานจึงเป็นทางเลือกที่ดีการป้องกันและควบคุมโรคสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป
  1. ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
90.00 95.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง

1.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน  ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส

110.00 77.00
3 เพื่อติดตามและส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง

1.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี 2.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

50.00 50.00
4 เพื่อติดตามประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส
  1. ร้อยละของกลุมเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส มีระดับความดันโลหิตลดลง
  2. ร้อยละของกลุมเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ 2ส มีระดับน้ำตาลลดลง
13.68 30.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  1. จำนวนหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น 1 หมู่บ้าน
5.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 301
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 843
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในชุมชน
- ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดจำนวน 5 กล่อง x 1400 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท - ค่าเข็มเจาะน้ำตาลในเลือดจำนวน 3 กลุ่อง x 750 บาทเป็นเงิน 2,250 บาท - ค่าสำลีแอลกอฮอล์(แผงละ 8 ก้อน)จำนวน 2 กล่อง x 1,200 บาทเป็นเงิน 2,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 15 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 95 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป (ไม่รวมกลุ่มป่วย) ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
  2. ร้อยละ 95 ของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป (ไม่รวมกลุ่มป่วย) ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11650.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง - ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชั่วโมง x 1 คนเป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม40 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าวัสดุในการประชุม 1,000 บาท 2. เยี่ยมติดตามกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 70 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. กลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีระดับความดันโลหิตหรือน้ำตาลลดลงไม่น้อยว่าร้อยละ 30
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจสุขภาพประจำปี และให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 80 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าวัสดุในการตรวจสุขภาพ เข็มเจาะเลือด 22G 1 นิ้วจำนวน 1 กล่อง x 125 บาท เป็นเงิน 125 บาท , แถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 กล่อง x 1400 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท , ถุงมือ 2 กล่อง x 160 บาท เป็นเงิน 320 บาท - วัสดุสื่อสุขศึกษา 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4345.00

กิจกรรมที่ 4 การส่งเสริมการจัดกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมการจัดกิจกรรมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เวทีแลกแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการจัดการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดเสี่ยงลดโรคเรื้อรัง  ในหมู่ที่ 1 บ้านเกาะแค      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  50 คน x 25 บาท x 1มื้อ เป็นเงิน 1,250 บาท      - ค่าวิทยากร 600 บาท x 2 ชม. x 1 คน เป็นเงิน  1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. หมู่ที่ 1 บ้านเกาะแค เข้าร่วมเป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,245.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถั่วเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
2.ประชาชนที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือน้ำตาลในเลือดได้ดี เพื่อป้องกันการเกิดภ่าวะแทรกซ้อน
3.


>