กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมปลูกสมุนไพรเพื่อป้องกันโรค รพ.สต.บ้านลานช้าง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาชัยสน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานช้าง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานช้าง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานช้าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

รัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่แผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่4 จนถึงปัจจุบัน โดยมีนโยบายด้านสมุนไพร คือ ส่งเสริม สนับสนุน เร่งรัด และประสานงานการวิจัยและพัฒนาสมุนไพร เพื่อนําผลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อสุขภาพและอนามัยของประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่สําคัญ เพื่อการผลิตยาและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในขั้นอุตสาหกรรมในประเทศและเพื่อการส่งออก โดยกระทรวงสาธารณสุขได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาการใช้ยาสมุนไพรขึ้น โดยมีหน้าที่พิจารณาและกําหนดแนวทางการพัฒนาสมุนไพรและยาแผนโบราณร วมทั้งให้คําแนะนําในการติดต่อประสานงานวิจัยสมุนไพรระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวของ ในปี พ.ศ.2529 ได้เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการสมุนไพรแห่งชาติและให้มีหน้าที่กําหนดนโยบายด้าน สมุนไพรในทางที่จะอํานวยประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและต่อเศรษฐกิจของชาติ
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ถูกกําหนดขึ้นโดยคัดเลือกจากสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก สมุนไพรหลายชนิดเป็นผักที่รับประทานอยู่เป็นประจํา ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ได้ง่าย วิธีการใช้สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นสมุนไพรที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่า สมุนไพรเหล่านี้มีสารสําคัญที่สามารถออกฤทธิ์ในการรักษาโรคได้จริง รวมถึง สมุนไพรที่ถูกกําหนดในงานสาธารณสุขมูลฐานจะเป็นชนิดที่มีความปลอดภัยสูงและมีผลข้างเคียงต่ำอีกด้วย
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานช้าง จึงเห็นความสำคัญของสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อป้องกันโรคขึ้น เพื่อให้อสม.และประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สมุนไพรชนิดต่างๆได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้อสม.และประชานทั่วไปได้หันมาใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคมากยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม.และประชาชนทั่วไป รู้จักชื่อสมุนไพรและสรรพคุณของสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

อสม.และประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับชื่อสมุนไพรสรรพคุณของสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้อสม.และประชาชนทั่วไป รู้จักวิธีการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน

อสม.และประชาชนทั่วไปมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับวิธีการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร - ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50บ. x2๖คนx1 มื้อ=1,๓00 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บ. x2๖คนx2 มื้อ =1,๓00 บาท
- ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ300 บ.    =1,800 บาท - ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 20 กระสอบ กระสอบละ 50 บ.  =1,000 บาท - ค่าดินปลูกต้นไม้ จำนวน 10๐ ถุง ถุงละ 25 บ.=2,500 บาท - ค่าต้นพันธุ์กล้าสมุนไพร จำนวน 30 ชนิด ชนิดละ 1 ต้น ราคาต้นละ 70 บ.=2,100 บาท รวม. 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
  2. อสม.และประชาชนทั่วไป หันมาใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคมากยิ่งขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม.และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
2. อสม.และประชาชนทั่วไป หันมาใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคมากยิ่งขึ้น


>