กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ บ้านป่าหลวง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยามู

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลยามู

1.นางซารีฟะ เบ็ญเตาะ
2.นางสีตีปาตีเมาะ เบ็ญดารา
3.นางไมมูเนาะ เปาะวอ
4.นางซามูเราะ มะยี
5.นางสุไบด๊ะ เปาะมะ

หมู่ที่ 3 บ้านป่าหลวง ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

35.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

18.00
4 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

20.00

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆที่มีความทันสมัยสะดวกสบายมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไปประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลงทำให้ร่างกายอ่อนแอและปัจจุบันนี้ปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรกในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โดยระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างและไขมันอุดตันในเส้นเลือดผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุจากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้ประกอบกับตามนโยบายของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลยามูที่มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสนับสนุนและดำเนินการในด้านสุขภาพให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลยามูให้มีสุขภาพกายและสุขภาพใจดีให้มีความเป็นอยู่อย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกายจิตใจสังคมอารมณ์และสติปัญญาโดยต้องการให้ประชาชนสามารถดูแลและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพตนเองได้ด้วยการออกกำลังกายสร้างสุขภาพเพื่อให้มีสุขภาพพลานามัยดีซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดีอีกทั้งยังสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และยังเป็นการป้องกันยาเสพติดไม่ให้เข้ามาในเขตพื้นที่ชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

35.00 50.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 40.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

18.00 30.00
4 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

20.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการออกกำลังกายเต้นแอโรบิค ตะกร้อ และฟุตบอล เพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการออกกำลังกายเต้นแอโรบิค ตะกร้อ และฟุตบอล เพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการออกกำลังกายแอโรบิคเพื่อสุขภาพ โดยการติดป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์
ค่าใช้จ่าย - ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.25 เมตร x 2.4 เมตร จำนวน 4 ผืน ผืนละ 750 บาท เป็นเงิน 3000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่สนใจเข้าร่วม ทราบถึงการจัดกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค ตะกร้อ และฟุตบอล เพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค ตะกร้อ และฟุตบอล เพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค ณ บริเวณ ริมสระเก็บน้ำ บ้านป่าหลวง หมู่ที่ 3 ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยจะจัดกิจกรรม เวลา 17.00 น. - 18.00 น. ของทุกวันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ ของทุกสัปดาห์ จนกว่าจะครบ 60 วัน ค่าใช้จ่าย
- ค่าตอบแทนผู้นำเต้นแอร์โรบิค 1 คน วันละ 200 บาท จำนวน 60 วัน เป็นเงิน 12000 บาท
- ค่าอุปกรณ์ ตะกร้อ และฟุตบอล เป็นเงิน 3000 บาท
- ค่าเครื่องเสียงนำเต้น 1 ชุด เป็นเงิน 7000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.25 เมตร x 2.4 เมตร 1 ผืน เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพที่ดีขึ้น จำนวนคนที่ออกกำลังกาบในชุมชนเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22750.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตาม สรุปผลการทำโครงการ จัดทำรูปเล่ม

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม สรุปผลการทำโครงการ จัดทำรูปเล่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามความเปลี่ยนแปลงผู้ที่มาออกกำลังกาย(ประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้สรุปผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกายที่พอเพียง
จำนวนคนที่ออกกำลังกาบในชุมชนเพิ่มขึ้น


>