กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการห่วงใยใส่ใจต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการห่วงใยใส่ใจต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ศูนย์บริการและเทคโนโลยีการเกษตรประจำเทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. นายประสิทธิ์รักรอด
2. นายธวัชชัยนาคะวิโรจน์
3. นายทวีจงหวัง
4. นายสมจิตต์เอียดเกลี้ยง
5. นายจำนงค์สายแก้ว

หมู่ที่ 2 ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด

 

85.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค 2. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการทำสารชีวินทรีย์ เพื่อลดการใช้สารเคมี เพื่อส่งเสริมเกษตรปลอดสารพิษ 3. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเจาะหาสารเคมีในเลือดเพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ

1.เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมีและการทำเกษตรปลอดสารพิษ จำนวน 50 คน 2.เกษตรกรในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำสารชีวินทรีย์ชนิดต่าง ๆ เพื่อลดการใช้สารเคมี ทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น 3.เกษตรกรมีความรู้ในการปรับพฤติกรรมในการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเองในครัวเรือน

0.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/04/2021

กำหนดเสร็จ 26/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 1 ก่อนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่ 2 หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 1 ก่อนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ครั้งที่ 2 หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมชั่งนำ้หนัก วัดความดันโลหิตสูง 2.ตรวจหาโคลีนเอสเตอเรสในเลือด เจาะหาสารเคมีในเลือด 3.วิเคราะห์หาสารพิษในเลือด 4.วิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง  ๆ
  2. สาธิต/ปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 เมษายน 2564 ถึง 25 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรทราบผลสารเคมีในเลือด และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการใช้สารเคมีลงได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรเห็นคุณค่าและประโยชน์ของการทำเกษตรปลอดสารพิษ ทำให้มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
2. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และลดการใช้สารเคมีในผลผลิตทางการเกษตร ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและทำให้เกิดโรคมะเร็ง โรคฉี่หนู และโรคปอดได้
3. เกษตรกรให้ความสำคัญถึงภาวะสุขภาพของตนเองและจำเป็นในการดำเนินชีวิตเกี่ยวกับการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โรคปอด โรคฉี่หนู และลดสารพิษในเลือดลงได้
4. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหารปลอดภัย การทำเกษตรปลอดสารพิษเพื่อลดภาวะเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง โรคฉี่หนู และโรคปอด


>