กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังเยาวชน บางปูสุขภาพดีด้วยวิถีชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชน มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู

นายฟาเดล หะยีสือแม
นางสาวนิซอลีฮะห์แวหามะ
นายฟารุกแวอีซอ
นายซอลาฮูดินแวและ
นางสาวซาฟีนะห์พิทักษ์สุขสันต์

มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู และ เยาวชนในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบางปู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชนตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

30.00

ปัจจุบันปัญหาของเยาวชนในสังคมไทยรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านกายภาพเศรษฐกิจและสังคมเมืองประกอบกับเยาวชนเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเจริญเติบโตมีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายจิตใจและอารมณ์ทำให้วัยรุ่นประสบปัญหามากมายเช่นปัญหายาเสพติดปัญหาเรื่องเพศสัมพันธ์ ปัญหาความรุนแรง พฤติกรรม ปัญหาที่เกิดจากการขาดความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากปัญหาครอบครัวสภาพแวดล้อมใกล้ตัวที่ชักจูงไปในทางไม่ดี และการใช้ความรุนแรงในสังคมอีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารแบบไร้ขีดจำกัด และช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ทำให้คนเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เยาวชนในสังคมไทย จึงควรได้รับการเตรียมความพร้อมให้มี “ทักษะ” ติดตัวเพื่อนำไปใช้ต่อการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ถือเป็นความท้าทายที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารแบบไร้ขีดจำกัด และช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ทำให้คนเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ ซึ่งการเตรียมความพร้อมเยาวชนให้มีความเท่าทันต่อเรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องสังคมไม่ควรละเลย
สถานการณ์เยาวชนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและก่อปัญหามากขึ้น อันเนื่องจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สภาพแวดล้อม และสภาพสังคม หากทุกฝ่ายให้ความสำคัญในการร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ดูแลเอาใจใส่ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่ดีให้แก่เยาวชน ปัญหาพฤติกรรมทางลบต่างๆของวัยรุ่นก็มีแนวโน้มที่จะลดลง
ศูนย์พัฒนาศักยภาพเยาวชน มัสยิดอัตตะอาวุน บางปู มีความตระหนักและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการรวมพลังเยาวชน บางปูสุขภาพดีด้วยวิถีชุมชน เพื่อหาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหานี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีทักษะการ ป้องกัน ส่งเสริม รู้เท่าทันปัญหาสุขภาพ เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดทักษะการป้องกัน รู้เท่าทันปัญหาสุขภาพ

0.00
2 เพื่อให้เยาวชนมีทักษะการสื่อสาร การพูด ประเด็นสุขภาพ ผ่านรายการวิทยุในชุมชน และ คัดเลือกตัวแทนเยาวชนเป็นนักจัดรายการวิทยุ

ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดทักษะการสื่อสาร การเป็นนักพูด
              และร้อยละ ๒๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นตัวแทนเยาวชนเป็นนักจัดรายการวิทยุประจำสถานี

0.00
3 เพื่อเสริมสร้าง ทักษะและสร้างเกราะป้องกันตนเองจากภัยต่างๆใกล้ตัว เรียนรู้การแก้ไขปัญหาและ สร้างกระบวนการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม

ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะสามารถสร้างเกราะป้องกันตนเองจากภัยต่างๆ               ใกล้ตัวและเกิดกระบวนการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม

0.00
4 เพื่อให้เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ เยาวชนได้รับการส่งเสริม และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการออกกำลังกายและ กีฬาอย่างเหมาะสม

ร้อยละ ๑๐๐ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพส่งเสริม และ
  เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการออกกำลังกายและกีฬาอย่างเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 330
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมวงกลมล้อมรักษ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวงกลมล้อมรักษ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิลป้ายโครงการขนาด 1.25 x 2.4 เมตรตารางเมตรละ 250 บาทเป็นเงิน750บาท -ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน. 110 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 8 ครั้ง เป็นเงิน 22,000บาท รวมเงิน22,750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดทักษะการป้องกัน รู้เท่าทันปัญหาสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22750.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเวทีคนเก่ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเวทีคนเก่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากรอบรมจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน 55 คน x 40 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน2,200 บาท -ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน. 55 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 2,750 บาท รวมเงิน8,550.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะสามารถสร้างเกราะป้องกันตนเองจากภัยต่างๆ                ใกล้ตัวและเกิดกระบวนการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมค่ายสุขหรรษาพัฒนาทักษะชึวิตช่วงปิดเทอม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค่ายสุขหรรษาพัฒนาทักษะชึวิตช่วงปิดเทอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าถ่ายเอกสารผู้เข้าร่วม จำนวน100 ชุดๆละ 25 บาทเป็นเงิน2,500 บาท -ค่าวัสดุกิจกรรมค่ายเป็นเงิน3,000 บาท -ค่าอาหารเช้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน. 120 คน x 40 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน9,600 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน.120 คน x 40 บาท x 3 มื้อ เป็นเงิน14,400 บาท -ค่าอาหารเย็น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน.120 คน x 40 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 9,600 บาท -ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน. 120 คน x 25 บาท x 6 มื้อ เป็นเงิน 18,000 บาท รวมเงิน57,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะสามารถสร้างเกราะป้องกันตนเองจากภัยต่างๆ                ใกล้ตัวและเกิดกระบวนการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57100.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรม 3อ.สุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 3อ.สุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและพี่เลี้ยงผู้ดำเนินงาน. 130 คน x 25 บาท x 1 มื้อ

เป็นเงิน 3,250 บาท -ค่าวัสดุในการจัดกิจกรรม เป็นเงิน 1,500บาท รวมเงิน4,750.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพส่งเสริม และ
เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการออกกำลังกายและกีฬาอย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียนร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 93,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เยาวชนในเขตเทศบาลตำบลบางปูที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการป้องกัน เรียนรู้การแก้ไขปัญหา มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจ ได้รับการส่งเสริมและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ


>