กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ "ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน เบาหวาน "ปีงบประมาณ 2565

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านลาไม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบัน และในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย พฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ

ภัยเงียบของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้คุกคามชีวิตของคนไทยจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการป่วย พิการและเสียชีวิต เป็นภาระต่องบประมาณด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังจะเห็นได้จากสถานบริการสาธารณสุขทั้งของภาครัฐ เอกชน และสถานบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ต่างแออัดไปด้วยผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่งผลให้งบประมาณที่รัฐจัดสรรให้สำหรับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามรายหัวประชากรจะต้องเพิ่มขึ้น จึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีเป้าหมายกลุ่มอายุ ๓5 ปีขึ้นไปทุกราย ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรค เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น และต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกราย อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรคในรายที่ป่วยแล้ว

รพ.สต.บ้านลาไม เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ความดัน เบาหวาน นี้ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานตรวจคัดกรองความเสี่ยง บรรลุตามตัวชี้วัดและจัดบริการในระดับปฐมภูมิเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีของประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ผสานความร่วมมือในการสร้างกระแสชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสามารถเป็นต้นแบบที่ดีต่อชุมชนอื่นได้ 2. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการเสริมทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ 3. เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยงความดัน เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพ อสม.ฟื้นฟูความรู้ทักษะทื่สำคัญ ตลอดจนเพื่อเป็นแกนนำในการสร้างชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยงความดัน เบาหวาน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพ อสม.ฟื้นฟูความรู้ทักษะทื่สำคัญ ตลอดจนเพื่อเป็นแกนนำในการสร้างชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1x3 เมตรเป็นเงิน 750 บาท กลุ่มเป้าหมาย 150 คน แบ่งเป็น 3 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
รุ่นที่ 2 -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท-ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท รุ่นที่ 3 -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน2,500 บาท-ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุดำเนินการ จำนวน 150 คน x 50 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนของโรคได้
2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อในชุมชนโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากประชาชน เพื่อให้การแก้ไขปัญหามีความมั่นคงและยั่งยืน
3. เกิดกระแสของการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องทั้งในกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง รวมถึงประชาชนทั่วไป


>