กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในการป้องกันปัญหาสุขภาพในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนบ้านโต๊ะตีเต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในการป้องกันปัญหาสุขภาพในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ในโรงเรียนบ้านโต๊ะตีเต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงเรียนบ้านโต๊ะตีเต

โรงเรียนบ้านโต๊ะตีเต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

82.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

 

35.00
3 จำนวนมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

 

1.00
4 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

100.00
5 ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

 

50.00

ปัจจุบันประเทศไทยและประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหา โรคหวัดสายพันธุ์ใหม่ คือโรคโควิด 19
ที่มีผลกระทบในด้านต่างๆ ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า ผู้คนทั่วโลกต่างล้มตายจากการแพร่ระบาด
ของโรคโควิด 19 ผลกระทบต่อการศึกษา เศษฐกิจสภาพสิ่งแวดและความเป็นอยู่ของประชากร
ทำให้การดำรงชีวิตต้องมีการพัฒนาปรับปรุงในรูปแบบใหม่เพื่อที่จะป้องกันโรคร้ายและสามารถดำรงกิจวัตรประจำวัน
อย่างมีความสุขในสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 เพราะฉะนั้นเราสามารถวางรากฐานเรื่องสุขภาพ
และการปฏิบัติตัวตามแนววิถีใหม่พร้อมกับให้ความรู้และวิธีการต่างๆ การปฏิบัติตัวในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็ก ๆ
ดังนั้นเพื่อให้เด็กได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและเฝ้าระวัง โรคโควิ19 นั้น
เป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบแล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีจะทำให้ปัญหาสุขภาพร่างกาย
โดยเฉพาะเด็กและครอบครัว รวมถึงชุมชนก็จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่ดีอีกด้วย ทางโรงเรียนบ้านบ้านโต๊ะตีเต
จึงได้ตระหนักในเรื่อง โรคโควิด 19 ของเด็กให้มาตื่นตัวและให้ความรู้เรื่องในการปรับตัวในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19
โดยจัดกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ ร่วมกันฝึกสุขลักษณะนิสัยในการดำรงชีวิตประจำวัน
แนววิถีใหม่และเพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องโรคโควิด 19 เหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิด
และเพื่อให้เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ยังคนในครอบครัวและชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว

50.00 82.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

82.00 90.00
3 เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูฯย์เด็กเล็ก

ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

100.00 100.00
4 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

35.00 50.00
5 เพื่อเพิ่มมาตรการทางสังคม เช่น ข้อตกลง ธรรมนูญ/มาตรการชุมชนเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19 (เช่น มาตรการของตลาด มาตรการทำกิจกรรมทางศาสนา มาตรการสวมหน้ากากอนามัย มาตรการจัดงานพิธีต่างๆ)

จำนวนมาตรการทางสังคมเพื่อป้องกัน/แก้ปัญหา/และฟื้นฟูโควิด-19

1.00 1.00

2เพื่อให้นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดและสามารถป้องกันตนเองจากโรคโควิด19ได้ 3เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพจากโรคโควิด 19

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพจากโรคโควิด 19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพจากโรคโควิด 19
  2. นักเรียนฝึกปฏิบัติตนเช่นการล้างมือ 7 ขั้นตอน กินร้อน ช้อนกลางเว้นระยะห่าง
  3. จัดกิจกรรมการประกวดการล้างมือต้านโรคโควิด 19 แต่ละช่วงชั้น

งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 82 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,050 บาท
2. ค่าป้ายโครงการขนาด 1 x 3 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 1 คน x 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน 500 บาท มีรายการดังนี้
- กระดาษบรุฟ
- สีชอร์ค
- กระดาษเอ และกระดาษการ์ดสี
- กระดาษโปสเตอร์รูปความรู้ในการอบรม

(หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
    และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ครอบครับและชุมชนได้
  2. นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดและสามารถปฏิบัติในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ได้
  3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5700.00

กิจกรรมที่ 2 แกนนำนักเรียนตรวจสุขภาพประจำวัน

ชื่อกิจกรรม
แกนนำนักเรียนตรวจสุขภาพประจำวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอุปกรณ์ในการสาธิต แอลกอฮอล์เจล สำหรับล้างมือ
    หน้ากากอนามัย จำนวน 82 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,100 บาท
  2. ค่าสบู่เหลวล้างมือ เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการตรวจความสะอาดการล้างมือของนักเรียนทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมทางกายตามชมรมต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมทางกายตามชมรมต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธงในรูปแบบแอโรคิดแดนซ์ทุกๆ วัน
2.จัดชมรมกีฬาต้านภัยโควิด 19
- ค่าอุปกรณ์กีฬา เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ออกกำลังกายในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ครอบครับและชุมชนได้
และนักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดและสามารถปฏิบัติในสถานการณ์
โรคระบาดโควิด 19 ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่แก่ครอบครับและชุมชนได้
2. นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาดและสามารถปฏิบัติในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ได้
3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง


>