กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตำบลเขาปู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลศรีบรรพต

ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะปัญหาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ยังส่งผลกระทบไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ผู้ป่วยจิตเวชมักขาดโอกาสและการสนับสนุนในสังคม ทำให้ตกเป็นเหยื่อในรูปแบบต่าง ๆ หรือเสี่ยงต่อการก่อคดีอุกฉกรรจ์ และยังพบว่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยก็ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาระสูงในการดูแล ส่งผลให้ญาติมีความท้อแท้ เบื่อหน่าย หมดความหวังและกำลังใจในการรักษา ผลกระทบในด้านลบทีเกิดขึ้นมีทั้ง ด้านผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธการเจ็บป่วย ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง ไม่ยอมรับประทานยา ด้านผู้ดูแล ไม่มีเวลา ต้องไปประกอบอาชีพทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่คนเดียว ขาดทักษะในการดูแลผู้ป่วย มีทัศนคติด้านลบต่อผู้ป่วยจิตเวช คิดว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย ด้านชุมชน ประกอบด้วย คนในชุมชนหวาดกลัวต่ออาการกำเริบ อาจมีทัศนคติด้านลบต่อผู้ป่วยโรคจิต เพิกเฉย มีความคิดว่าผู้ป่วยต้องอยู่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่สามารถอยู่ในชุมชนได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคจิตมักมีการดำเนินโรคเรื้อรัง และกลับเป็นซ้ำบ่อย ซึ่งมีผลกระทบต่อความรุนแรงของอาการมากขึ้น อาการเรื้อรังไม่หายขาด กิจกรรมการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ได้แก่ กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน การดูแลให้ได้รับยาต่อเนื่อง การเฝ้าระวังและจัดการปัจจัยกลุ่มเสี่ยงต่อการกำเริบ ส่งเสริมปัจจัยที่ทำให้ญาติและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เชื่อมโยงข้อมูลในการส่งต่อในกรณีมีภาวะฉุกเฉิน โดยทีมสุมสุขภาพในชุมชน ร่วมกับเครือข่ายชุมชนในการดูแลอำเภอศรีบรรพต ในปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยโรคจิต/จิตเภท จำนวน 177 คน มีผู้ป่วยมีอาการกำเริบซ้ำ 12 คน ทำให้เกิดผลกระทบมากมายดังที่กล่าวมาคลินิกสุขภาพจิต กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีบรรพต เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกับ รพ.สต.เขาปู่ จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตำบลเขาปู่เพื่อให้เครือข่ายอสม. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคทางจิตเวชเข้าใจแนวทางการดูแลผู้ป่วย และสามารถดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ไม่มีอาการกำเริบซ้ำ และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามศักยภาพของตนเองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำดูแลผู้ป่วยจิตเวช

-ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรคทางจิตเวชและแนวทางการดูแล ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
-ผู้เข้ารับการอบรม มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยจิตเวช ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 -ผู้เข้ารับการอบรมสามารถคัดกรองโรคจิต และคัดกรองซึมเศร้าเบื้องต้นได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องโรคทางจิตเวช การดูแลผู้ป่วยโรคทางจิตเวช -ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 เป็นเงิน 600 บาท -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าเอกสารและวัสดุในการจัดการอบรม เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8900.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมตรวจกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมตรวจกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมบ้านผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง หรือขาดการรักษาที่ต่อเนื่องร่วมกับแกนนำเครือข่าย อสม.(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินแกนนำเพื่อติดตามประเมินผล(ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินโครงการ (ไม่ใช้งบประมาณ)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี และมีทักษะในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช
2. ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามมาตรฐานได้รับการรักษาต่อเนื่องและไม่มีอาการกำเริบกลับเป็นซ้ำ
3. ผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระการดูแลของญาติ


>