กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือนเพื่อชาวบ้านห้วยคล้าสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ

กลุ่ม อสม.บ้านห้วยตล้า หมู่ที่4

1. นายอับดลฆอนี รูบามา ประธานกลุ่ม อสม.บ้านห้วยคล้า ม.๔
2. นายรอหิม หลงสมัน สมาชิก
3. นางนุสซอร่า เจ๊ะบา สมาชิก
4. นส.นูรีดา โต๊ะเจ๊ะสมาชิก
5. นายบูฮาสัน ดอล๊ะ สมาชิก

พื้นที่หมู่ที่4 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

2,600.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

80.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

15.00
4 จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

 

2.00

ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน สังคม และประดับประเทศ ซึ่งปัญหานี้นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ตลอดจนพฤติกรรมการบริโภคของคนเราเริ่มเปลี่ยนไป ปัจจุบันมี การใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก โฟม แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียม ส่งผลให้มีปริมาณขยะ มูลฝอยและของเสียอันตรายเพิ่มมากขึ้น ผลกระทบที่จะตามมาคือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพ ความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวน รวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหะนำโรค สิ่งสำคัญที่สุดคือสถานที่กำจัดขยะไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณขยะได้ในอนาคต ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 74.998 ล้านตันต่อวัน แต่ ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างตาม สถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัดโดยวิธีการกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ เพื่อแก้ปัญหา ขยะมูลฝอยตามนโยบายรัฐบาล ตลอดจนกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการ 60 วัน “แยกก่อนทิ้ง” เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง โดยให้จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้าน/ชุมชน และประชาชนในทุกครัวเรือนร่วมดำเนินการตามแผน ด้วยกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านห้วยคล้า หมู่ที่4 ก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือนเพื่อชาวบ้านห้วยคล้าสุขภาพดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.256๔ ขึ้น เพื่อลดจำนวนปริมาณขยะในพื้นที่ด้วยการลดปริมาณขยะที่ต้นทาง เพื่อส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนมีคัดแยกขยะที่ถูกต้องในเขตพื้นที่บ้านห้วยคล้า หมู่ที่4 ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

2600.00 1500.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

80.00 150.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

15.00 30.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนหน่วยงานที่มีนโยบายจัดการขยะ

จำนวนหน่วยงาน/องค์กรที่มีนโยบายจัดการขยะที่ถูกต้อง(แห่ง)

2.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/03/2021

กำหนดเสร็จ 16/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องและจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 20 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1มือ  เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2564 ถึง 16 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดพลังขับเคลื่อนงานสิ่งแวดล้อมในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ในการอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 60 คน ๆ ละ 60 บาท               เป็นเงิน 3,600 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 60 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ    เป็นเงิน 3,000 บาท

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 300 บาท  เป็นเงิน 1,500 บาท

    • ค่าเตรียมและทำความสะอาดสถานที่อบรม  เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต แกนนำได้รับการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ผลลัพธ์ ปริมาณขยะที่นำไปกำจัดมีปริมาณลดลงร้อยละ50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์พร้อมติดตั้ง  ขนาด 1.20 x ๒.40 เมตร
                                                            จำนวน 5 ป้ายละ 700  บาท เป็นเงิน 4,900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนตื้นรู้เรื่องการจัดการขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประชุมสรุปผลการดเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมสรุปผลการดเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง 25 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1มื้อ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินการ วางแผนขับเคลื่อนต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,625.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนให้ความร่วมมือลดปริมาณขยะในพื้นที่ ลดแหล่งรังโรคการระบาดโรคต่างๆ


>