กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมใจห่างไกลโรคไข้เลือดออกชุมชนบ้านปลักธง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปลักธง

1. นางขวัญใจ สุขสวัสดิ์
2. นางถนอม นิลสุวรรณ
3. นางวีนา ทองประดับเพ็ชร
4. นายมนูญ ชูกำเนิด
5. นางสาวกานดา สุขวารินทร์

ชุมชนบ้านปลักธง ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

165.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
จากข้อมูลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ มีแนวโน้มสูงขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาไปที่การกำจัดยุงตัวเต็มวัย การพ่นหมอกควัน เป็นต้น โดยไม่ได้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์และไข่ลูกน้ำยุงลาย จึงทำให้มียุงรุ่นใหม่เกิดได้ตลอดช่วงเวลา จึงไม่สามารถขจัดโรคไข้เลือดออกให้หมดไปจากชุมชนได้
ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านปลักธง จึงได้จัดทำโครงการร่วมใจ ห่างไกลโรคไข้เลือดออก ชุมชนบ้านปลักธง ขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ไม่ให้มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไปในวงกว้าง ป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดโรคและดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นการกระตุ้น ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก และช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ลดอัตราการป่วยและลดค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลาย สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง โดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหนะนำโรค ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน และป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ลงลงร้อยละ 50

165.00 100.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ความร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80 ร้อยละ

165.00 200.00
3 เพื่อส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย

มีครัวเรือนต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย อย่างน้อย 20 ครัวเรือน

20.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเพาะพันธุ์ต้นสมุนไพร ตะไคร้หอม และ จัดทำตุ๊กตาไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเพาะพันธุ์ต้นสมุนไพร ตะไคร้หอม และ จัดทำตุ๊กตาไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย
- ค่าถุงตาข่าย จำนวน 300 ชิ้นๆ ละ 3 บาท = 900 บาท
- ค่าการบูร จำนวน 3 ถุงๆ ละ 2,000 บาท = 6,000 บาท
- ค่าเมนทอล จำนวน 9 ขีดๆ ละ 600 บาท = 5,400 บาท
- ค่าพิมพ์เสน จำนวน 6 ขีดๆ ละ 120 บาท = 720 บาท
- ค่าพาราฟิน จำนวน 3 ขีดๆ ละ 30 บาท = 90 บาท
- ค่าวาสลีน จำนวน 1,800 กรัม = 300 บาท
- ค่าน้ำมันระกำ จำนวน 3 ขวดๆ ละ 150 บาท = 450 บาท - ค่าน้ำมันงา จำนวน 3 ขวดๆ ละ 100 บาท = 300 บาท - ค่าน้ำมันตะไคร้หอมสกัด จำนวน 1 ขวดๆ ละ 800 บาท = 800 บาท - ค่าน้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน จำนวน 9 ขวดๆ ละ250 บาท = 2,250 บาท - ค่าขวด(ขนาด 50 กรัม) จำนวน 300 ขวดๆ ละ 10 บาท = 3,000 บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 ม. x 3 ม. x 150 บาท x 1 ป้าย = 450 บาท - ค่าจัดทำสติกเกอร์ครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 20 ครัวเรือนๆ ละ50 บาท = 1,000 บาท - ค่าไฟฉาย จำนวน = 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2564 ถึง 22 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ตุ๊กตาไลยุ่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22360.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเดินรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออกทั้งวัน/กำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเดินรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออกทั้งวัน/กำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท x 2 มื้อ = 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 50 บาท = 1,500 บาท
  • ค่าตอบแทนในการสำรวจ จำนวน 165 ครัวเรือนๆ ละ 15 บาท x 3 ครั้ง = 7,425 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2564 ถึง 27 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้เดินรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออก ได้กำจัดลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10425.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 9 คนๆ ละ 25 บาท x 1 มื้อ = 225 บาท
  • ค่าจัดทำเล่มเอกสารสรุปโครงการ = 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2564 ถึง 30 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ส่งกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1225.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,010.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดจำนวนผู้ป่วยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 50
2. ดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง และลดอัตราป่วยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง
3. มีครัวเรือนต้นแบบในการใช้เป็นตัวอย่างแก่บ้านข้างเคียงได้


>