กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนในวังวิถีใหม่ ห่างไกลโรค NCDs

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลศรีบรรพต

ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆ ของประเทศไทย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด มีอัตราตาย 85.04, 3.64, 55.29 ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูล จากสํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2550) และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา สูงมาก เฉพาะโรคมะเร็งอย่างเดียว ประมาณคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมี พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ ขาดการออกกําลังกายมีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง
จากการคัดกรองโรคเมตาบอลิกของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพต ในปี 2561 – 2563 พบว่า ประชากรที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 46.42 , 45.69 , 15.19อยู่ในกลุ่มสงสัยเป็นโรค คิดเป็นร้อยละ 22.26 , 23.30 , 13.58 ประชากรที่มีภาวะเบาหวาน อยู่ในกลุ่มแฝง/เสี่ยง คิดเป็นร้อยละ 32.76 , 42.37 , 33.88อยู่ในกลุ่มกลุ่มสงสัยเป็นโรค คิดเป็นร้อยละ 4.66 , 4.89 , 3.78 จะเห็นได้ว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพต มีกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานลดลง จากการได้ดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แต่ยังพบว่าหมู่บ้านในวัง ม.9 ต.เขาปู่ มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานสูงที่สุด เมื่อเทียบกับหมู่บ้าน อื่น ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลศรีบรรพต
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกับ อสม.บ้านในวัง จัดทำโครงการชุมชนในวังวิถีใหม่ ห่างไกลโรค NCDs เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง จุดประกายให้ ประชาชนในหมู่บ้าน ได้หันมาเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพที่ยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยจากโรคเรื้อรัง

-ประชาชนมีความรู้และพฤติกรรมที่ดีขึ้นร้อยละ 80 -ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ร้อยละ 1 ของกลุ่มเป้าหมาย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 35
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการฯเพื่อจัดทําแผนพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ติดตามการดำเนินงาน สรุปการทำงาน - ค่าอาหารว่างชี้แจงโครงการ 15 คน3 มื้อ25 บาท เป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้หลัก 3อ. 2ส. - ค่าอาหารว่างอบรมแกนนำ วิทยากรและผู้จัด 35 คน* 2 มื้อ* 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท - ค่าอาหารกลางวันอบรมปรับเปลี่ยน 35 คน* 1 มื้อ* 50 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชั่วโมง*300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท - วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงการ  2,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7425.00

กิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน ติดตามพฤติกรรมสุขภาพและประเมินผลโครงการ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน2 มื้อ25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.ลดอัตราป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่


>