กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเด็กตันหยงจึงงาแข็งแรง มีสุขภาพดี tanyongjungha Smart kids โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กตันหยงจึงงาแข็งแรง มีสุขภาพดี tanyongjungha Smart kids โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

ตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

66.67
2 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์

 

26.27
3 ร้อยละของเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการสมวัยครั้งแรก

 

66.01

การมีสุขภาพที่ดี เป็นสิ่งที่ทุกคนต่างก็พึงปรารถนาที่จะมี โดยการมีสุขภาพดีนั้น เริ่มต้นจากวัยต้นของชีวิต
คือ วัยแรกเกิด ซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว
ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุด
ในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
มีอัตราการเกิดที่ค่อนข้างดี แต่ประสบปัญหาด้านคุณภาพ ในปีงบประมาณ 2561
ทางสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ได้ริเริ่มดำเนินโครงการปัตตานี สมาร์ทคิดส์ (Pattani smart kids)
โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเพิ่มความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ
การเชื่อมโยง (Intelligence Quotient, IQ) และพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient, EQ)
เพื่อให้เด็กปัตตานีรอบรู้ รอบคิด สามารถตัดสินใจเท่าทันเด็กสมัยใหม่ และเด็กที่อยู่ในเมืองได้
โดยได้คิดรูปแบบการดำเนินกิจกรรมครอบคลุมงาน 4 ด้าน คือ
1. ด้านการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์
2. ด้านการมีสุขภาพดี สูงดี สมส่วน สมวัย
3. ด้านการมีพัฒนาการสมวัย
4. ด้านสุขภาพช่องปากดี ฟันไม่ผุ
ซึ่งจะสอดรับกับแนวคิด "มีลูกคุณภาพ เมื่อพร้อม เพื่อชาติ" จากผลการดำเนินงาน ปี 2563
พบว่า ความครอบคลุมเด็กในกลุ่ม Smart Kids คิดเป็นร้อยละ 54.17 ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ
1. ด้านการได้รับวัคซีนป้องกันโรคตามเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 91.67
2. ด้านการมีสุขภาพดีสูงดีสมส่วน สมวัยคิดป็นร้อยละ 66.67
3. ด้านการมีพัฒนาการสมวัยคิดเป็นร้อยละ 83.33
4. ด้านสุขภาพ ช่องปากดี ฟันไม่ผุคิดเป็นร้อยละ 100
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า เด็กในตำบลตันหยงจึงงา มีปัญหาในน้ำหนักและส่วนสูง
ต่ำกว่าเกณฑ์ ไม่สมส่วน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแล ส่งเสริม ป้องกันในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา จึงได้จัดทำโครงการเด็ก
ตันหยงจึงงาสุขภาพดี Smart kids และดำเนินกิจกรรมสอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุข
จังหวัดปัตตานี และเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ พ่อ แม่
ผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กในตำบลตันหยงจึงงามีสุขภาพดี แข็งแรงไม่เป็นโรคหรือเสียชีวิต
ด้วยโรคที่ป้องกันได้ ด้วยวัคซีนมีพัฒนาการสมวัย โภชนาการดี และมีสุขภาพช่องปากที่ดี
ฟันไม่ผุ ตามสโลแกนของจังหวัดปัตตานีที่ว่า “เด็กปัตตานีสูงดี สมส่วน สมวัย พัฒนาการดี
วัคซีนครบ ฟันไม่ผุ”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี เป็นเด็กกลุ่ม Smart Kids ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ร้อยละ 60

ความครอบคลุมเด็กในกลุ่ม Smart Kids

54.17 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนากา 60
กลุ่มพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองเด็ก0-5ปีที่บ่ายเบี่ยงวั 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัย และ การใช้ประโยชน์ และกำหนดข้อตกลงร่วม

ชื่อกิจกรรม
การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารการเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ การมีอาหารคุณภาพ ปลอดภัย และ การใช้ประโยชน์ และกำหนดข้อตกลงร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม Walk rally โดย ครอบคลุมกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
    • อาหารที่เหมาะสมกับวัยสาธิตการจัดเมนูอาหาร
    • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
    • การส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงอายุ
    • การดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก
  2. การพัฒนาตลาดอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ
    (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ฯลฯ ของชุมชน)
    กิจกรรม Walk rally ในกลุ่มพ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมาย smart kids

- ค่าอาหาร จำนวน 80 คนๆ ละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าชุดแปรงสีฟัน ยาสีฟันเด็ก 80 ชุดๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
- ค่าฟลูออไรด์วานิช 2 หลอดๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
- ค่าแปรงสำหรับทาฟลูออไรด์วานิช 2 กล่องๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 3,440 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1x2 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน 1,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลประกาศเกียรติคุณ Smart Family to Smart Kidsขนาด 1x1 เมตร
ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 4 ผืน เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กในตำบลตันหยงจึงงาเป็นเด็กในกลุ่ม Smart Kids
เกิดข้อตกลงร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19640.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามเยี่ยมเด็กกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ,พัฒนาการสงสัยล่าช้า,
    ไม่ได้รับการตรวจพัฒนาการ,ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์,เด็กที่มีผิวฟันสีขาวขุ่น
    เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องทุกๆ 2 เดือน
    จำนวน 3 ครั้ง
  • ติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง (ทุพโภชนาการ 25 คน, พัฒนาการสงสัยล่าช้า 2 คน, ไม่ได้รับการตรวจ
    พัฒนาการ 25 คน, ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ 25 คน, เด็กที่มีผิวฟันสีขาวขุ่น
    เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ 10 คน)
  • ค่าอาหารผู้ติดตาม จำนวน 22 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,100 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีระบบการเฝ้าระวัง ติดตามเด็กกลุ่มเสี่ยง
ได้ติดตามข้อตกลงร่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีศักยภาพสามารถดูแล ติดตาม
เป็นพี่เลี้ยงเรื่องสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชำนาญ
2. เด็กกลุ่มเป้าหมายSmart kids มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สูงดี สมส่วน
มีพัฒนาการสมวัย ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และฟันไม่ผุ


>