กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการลด แยก แลกขยะมูลฝอยได้บุญ โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลด แยก แลกขยะมูลฝอยได้บุญ โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตันหยงจึงงา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

ชมรมอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลตันหยงจึงงา

น.ส.ยาไหย๊ะห์ โต๊ะเด็ง
นางฮากีมะสือนิ
นางนูรียะเวาะยา
น.ส.ตูรหายานี เจะเตะ
น.ส.ขอลีเยาะมะเก

หมู่ที่ 2ตำบลตันหยงจึงงาอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

10.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

10.00

นับตั้งแต่อดีตมาสู่ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน
และนับวันยิ่งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการอุปโภคบริโภคของประชาชน
ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอย ในขณะ เดียวกันปริมาณขยะมูลฝอยที่ได้รับ
การจัดการอย่างถูกต้องในอัตราที่ต่ำ ไม่เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ตำบลตันหยงจึงงาก็กำลังประสบปัญหาในด้านการบริหารจัดการขยะเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นตามจำนวนประชากร ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่
และปัญหาขยะตกค้างต่างๆ ดังนั้นแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในระยะยาว
จะต้องได้รับการสนับสนุนและขยายผล ให้ประชาชนลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย
จากบ้านเรือนโดยอาศัยหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle)
เสริมแรงจูงใจด้านศาสนาให้กับประชาชนในการร่วมกันคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่บ้านเรือนเป็นต้น
ในการนี้ ชมรมอาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลตันหยงจึงงา
จึงได้จัดทำโครงการลด แยก แลกขยะมูลฝอยได้บุญ ตำบลตันหยงจึงงา ประจำปี พ.ศ 2564 ขึ้น
เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปริมาณขยะมูลฝอย
และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาด้านการสาธารณสุข
และอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

10.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

10.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลในการจัดการขยะชุมชนและกำหนดข้อตกลงชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลในการจัดการขยะชุมชนและกำหนดข้อตกลงชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R (Reduce Re-use Recycle Repair ) แก่ประชาชนในครัวเรือน
  • การพัฒนาทักษะการจัดการขยะตามหลัก 7 R (Reduce Re-use Recycle Repair ) แก่เยาวชนและนักเรียน
    จัดการประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เข้าร่วมโครงการและให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน
  • ค่าอาหาร จำนวน 100 คนๆ ละ 50 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการฯ ขนาด 1 x 2 ตารางเมตรละ 250 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีจิตสำนึกในการจัดการและคัดแยกขยะ เกิดข้อตกลงชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมขยะแลกบุญ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขยะแลกบุญ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การจัดตั้งธนาคารขยะชุมชน หรือ ธนาคารขยะในหน่วยงาน
  • กลไกสภาเยาวชนจัดการขยะในชุมชน
  • การมีกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงต่อการทิ้งขยะสมสมในชุมชน เช่น ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลับตาผู้คน ที่ดินซึ่งมีการนำสิ่งของมาทิ้งประจำ
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมขยะแลกบุญขนาด 1 x 2 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาทจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าตะแกรงเหล็ก สำหรับเก็บขยะ ขนาด 1 x 1.5 เมตร จำนวน 2 อันๆ ละ 6,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดการขยะโดยชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม
2. สามารถลดปริมาณขยะได้
3. ประชาชนมีรายได้จากการขายขยะ และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีสมาชิกในครัวเรือนเสียชีวิต
4. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นที่ดีขึ้น


>