กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี

1. นางพรทิพย์ พละสินธุ์ ประธาน
2. นางสมจิตต์ มากเพ็ง รองประธาน
3. นางผกามาศ นนทสุวรรณ กรรมการ
4. นางชุติประภา เตียวรรณภพ กรรมการ
5. นางจุฑามาศ สุวรรณเจริญ กรรมการ

ตำบลคลองแห

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

13.20
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ปลอดภัย เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ

 

25.60
3 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

45.30
4 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

63.20

จากการศึกษาข้อมูลพบว่าโครงสร้างประชากรของประเทศไทย กลุ่มประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่งด้านปริมาณและสัดส่วนต่อประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจาก
การพัฒนาด้านสาธารรณสุขและทางแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุ ถือว่าเป็น ปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก และเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย แต่ในปัจจุบัน เป็นสังคมที่มีการแข่งขันในเรื่องการทำงาน บุตรหลานซึ่งเป็นวัยทำงาน จะต้องออกไปนอกบ้าน กว่าจะกลับมาก็ค่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่าง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้สูงวัยลดน้อยลง มีช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุถูกปล่อยให้อยู่กับบ้าน รู้สึกน้อยใจ ไม่มีคุณค่า ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
จากการสำรวจข้อมูลด้านผู้สูงอายุ ของชุมชนหลังบิ๊กซีชุมชนทุ่งทองชุมชนประชาสรรค์ มีจำนวนผู้สูงอายุที่ติดบ้านและมีปัญหาในเรื่อง นอนไม่หลับ เศร้า และมีปัญหาในการพูดคุยกับลูกหลานในครอบครัว ร้อยละ 45 ของผู้สูงอายุ การสร้างความเข้มแข็งให้ผู้สูงอายุทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เพื่อให้ผู้สูงอายุเท่าทันโลกที่เปลี่ยนไป พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และส่งเสริมกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภูมิคุ้มกัน สุขภาพกายและจิตที่ดีอยู่ที่ร่างกายที่แข็งแรงทางคณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแหชุมชนหลังบิ๊กซีและชุมชนข้างเคียงได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และความเป็นอยู่ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ การปรับตัว การอยู่ร่วมกับ ครอบครัว และสังคม ได้อย่างมีความสุข จึงได้จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

63.20 82.60
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

45.30 72.50
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

13.20 32.10
4 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหารปลอดภัยและเพียงพอ

ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีการบริโภคอาหาร ผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

25.60 50.00

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า โครงการประชากรของประเทศไทย กลุ่มประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งด้านปริมาณและสัดส่วนของประชากร จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืดยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรัง หรืออุบัติเหตุ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุถือว่าเป็นปูชนียบุคคลของสังคมที่มีคุณค่ายิ่ง เนื่องจากผ่านประสบการณ์มามาก ได้เคยเป็นกำลังสำคัญของสังคมมาก่อน มีความรู้ มีทักษะ อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น วิถีชีวิตดั้งเดิม และได้ทำคุณประโยชน์แก่สังคมมาแล้วมากมาย ในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นสังคมที่มีการแข่งขันในเรื่องการทำงาน บุตรหลานซึ่งเป็นวัยทำงาน จะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน กว่าจะกลับมาก็มืดค่ำ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ ญาติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นผู้สูงวัยลดลงท่านอาจจะน้อยใจ เศร้าใจ ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
ในการนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนหลังบิ๊กซี ได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และความเป็นอยู่ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพใจ ผู้สูงวัยมีสุข เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจ การปรับตัว การอยู่ร่วมกับครอบครัว และสังคมได้อย่างมีความสุขซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าชีวิตมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 70
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2564 ถึง 13 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมอบรมเชิงปฎิบัติการครั้งที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกับการแพทย์ทางเลือก ครึ่งวัน

1 การรักษาสุขภาพจิตเชิงพุทธบูรณาการ แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 สุขภาวะทางปัญญา ป้องกันจิต

กลุ่มที่ 2 การรักษาจิต

กลุ่มที่ 3 การพัฒนาจิต

2 อาหารจิต อาหารกาย โภชาการสมวัย

  • สาธิตเมนูการทำอาหารตามกลุ่มวัย

รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ25 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าวิตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คนๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 5,400 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายและสาธิตเมนูอาหาร จำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,200บาท

  • ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x 4 เมตร จำนวน 2 ผืน เป็นเงิน720 บาท

  • ค่าจัดทำเอกสารการอบรม จำนวน 100 ชุด ราคาชุดละ20บาท เป็นเงิน 2000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2564 ถึง 20 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจ และมีความรู้การรักษาสุขภาพจิตเชิงพุทธบูรณาการในการปฏิบัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13320.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวความครัวเป็นสุข

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวความครัวเป็นสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 2 รู้ทันปัญหาสุขภาพ ทุกเวลามีค่า สุขภาพดี ชีวิตยืนยาวครอบครัวเป็นสุข

  • ทักษะการเผชิญปัญหาและการแก้ไข รู้ทัน ไม่ซึมเศร้า

  • กิจกรรมทางกาย ขยับกายวันละนิดจิตแจ่มใส


    รายละเอียดงบประมาณ

  • ค่าอาอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 5,000 บาท

  • ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

  • ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1200 บาท

  • ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติจำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มิถุนายน 2564 ถึง 18 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมกิจกรรม 100 คน และเข้าใจการใช้ชีวิตและการแก้ไขปํญหาทางด้านสุขภาพ รู้เท่าทันจิตก่อนจะเป็นโณคซึมเศร้า และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้

  • เข้าร่วมโครงการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

กิจกรรมที่ 4 เสริมทักษะ “ชนะใจตนเอง มองส่วนดีของคนอื่น”

ชื่อกิจกรรม
เสริมทักษะ “ชนะใจตนเอง มองส่วนดีของคนอื่น”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมเสริมทักษะ “ชนะใจตนเอง มองส่วนดีของคนอื่น”
  • นำปิ่นโตสุขภาพมาถวายพระ เดือนละ 1 ครั้งในทุกวันพระ

ไม่มีค่าใช้จ่ายใช้งบประมาณของชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มิถุนายน 2564 ถึง 21 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจตัวตนของตัวเองและมีการฝึกปฏิบัติทุกเดือน
  • มีปินโตสุขภาพ เพื่อส่งเสริมสุขภาพพรสงฆ์ และตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมเชิงปฏิบัติการภูมิปัญญาชาวบ้านในการส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการภูมิปัญญาชาวบ้านในการส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสูงวัยใส่ใจสุขภาพ เดือนที่ 2 โดยมีกิจกรรมดังนี้

1.มีการให้ความรู้การดูแลสุขภาพแก่ผู้อายุสูงการดูแลสุขภาพด้านสุนไพรป้องกันโรค

2 สาธิต และสมุนไพรป้องกันโรค ตามหลักภูมิปัญญาพื้นบ้าน เช่น ลูกประคบพิมเสน

3.มีการสาธิตและแนะนำเมนูสุขภาพในผู้สูงอายุ เรื่องอาหารกับการป้องกันโรค

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากร 3ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน1,800บาท

  • ค่าวัสดุสาธิตการทำเมนูอาหารสุขภาพ เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าวัสดุในการทำลูกประคบ หรือพิมเสนเป็นเงิน4,000บาท ( อุปกรณ์บางส่วนผู้เข้าอบรมนำมา )

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2564 ถึง 15 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุในพื้นที่ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ และสามารถใช้สมุนไพรตามหลักภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลตนเอง

2.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

3.ผู้สูงอายุมีตัวอย่างเมนูสุขภาพในการดูเลตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 6 การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 อารมณ์กับสุขภาพ (การฝึกสมาธิ “ตนมองตนด้วยสมาธิเบื้องต้น” )

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 อารมณ์กับสุขภาพ (การฝึกสมาธิ “ตนมองตนด้วยสมาธิเบื้องต้น” )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมในวันพระ

รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าวิทยากรบรรยายจำนวน1คน จำนวน1ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1400 บาท

-ค่าวิทยากรฝึกปฏิบัติจำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ600 บาท เป็นเงิน 2400 บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

-ค่าเช่าเครื่องเสียง วันละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

-ค่าเช่าสถานที่ วันละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

  • อาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรมนำปิ่นโตพร้อมทั้งถวายพระ
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 สิงหาคม 2564 ถึง 6 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพจิต โดยการเจริญสติ สมาธิ กรรมฐาน ปล่อยวางความเครียดและสิ่งต่างๆ ของสังคม เพื่อใช้ชีวิตต่อไปข้าหน้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่รวมกันให้มีสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่รวมกันให้มีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรูของผู้เข้าอบรม
    เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ในพื้นที่เดือนละ 1ครั้ง

  • ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 สิงหาคม 2564 ถึง 24 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดำรงชีวิต ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการเยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ติดตามประเมินผลโครงการจากการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม

  • คัดกรองสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อนและหลังทำโครงการ โดยการช่างน้ำหนักวัดความดันวัดรอบเอว

  • ค่าถ่ายเอกสาร 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดการติดตามประเมินผลโครงการ

  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในแต่ละกิจกรรมและนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 9 ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมสรุปผลการดำเนินดครงการวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการทำงานต่อไป รายละเอียดงบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กันยายน 2564 ถึง 6 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และมีทักษะในการปฏิบัติตน รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง
2. ผู้สูงอายุได้พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ลดภาวะโรคเครียด หรือ โรคซึมเศร้า
3. ผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4. ผู้สูงอายุรู้จักการใช้สมุนไพรในการป้องกันโรคและมีเมนูสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
5. ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น


>