กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนสะอาด ชาวเมืองใหม่สุขใจ ปราศจากโรคภัย สิ่งแวดล้อมสบายตา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลเมืองคลองแห

คณะกรรมการชุมชนเมืองใหม่

1.นางไพจิตร เภาทอง ประธานชุมชนเมืองใหม่

2.นายธนชัย แก้วปฏิมา รองประธานฯ

3.นางสาวธิราทิพย์ ทิพย์บุญ เลขานุการ

4.นายดำรง ไกรเลิศ เหรัญญิก

5.ร.ต.ต.วิรัตน์ สุพรรณชนะบุรี กรรมการ

ชุมชนเมืองใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

 

220.00
2 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

85.00
3 จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

 

50.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

 

35.42
5 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

75.23

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด และของเสียอันตรายจากบ้านเรือนเป็นปัญหาสำคัญ ครัวเรือนเป็นแหล่งกำเนิด ของของเสีย อันตรายจากชุมชนประมาณ ๑ ใน ๔ ของทั้งหมด ซึ่งจากปัญหาขยะดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน โรคภัยที่เกิดจากขยะมูลฝอยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหารโรคจากสัตว์แมลงนำโรค เช่น ไข้เลือดออก โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ซึ่งปัจจุบันในชุมชนเมืองใหม่ มีปริมาณขยะจากครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น โดยมาจากการดำรงชีวิตของคนในชุมชน จะเห็นได้จากขยะมูลฝอยตามหมู่บ้าน มีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งขยะบางชนิดไม่ย่อยสลาย และกำจัดได้ยาก เช่น กล่องโฟม ถุงพลาสติก ขวดพลาสติก ,ขยะอันตราย เช่นขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และขยะเปียกซึ่งก่อให้เกิดมลภาวะ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่าง ๆ ตลอดจนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนประกอบกับในปี ๒๕๖๐ ตำบลคลองแหเป็นพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกสูงเป็นลำดับต้นๆของจังหวัดสงขลา ดังนั้นเพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก หรือโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอยของประชาชนในพื้นที่ จึงต้องมีการจัดการแหล่งขยะให้ถูกสุขลักษณะเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความปลอดภัย และการป้องกันโรคโดยการสร้างความเข้าใจ ความตระหนักของประชาชนภายใต้ความร่วมมือของชุมชนในการคัดแยก และกำจัดขยะอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะได้

ชุมชนเมืองใหม่ จึงมีความประสงค์จัดทำโครงการชุมชนสะอาด ชาวแก้วสว่างสุขใจ ปราศจากโรคภัย สิ่งแวดล้อมสบายตา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วงพร้อมทั้งให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการคัดแยกขยะประเภทต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากการสะสมขยะ แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านขยะเพื่อลดปริมาณขยะจากต้นทาง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นระเบียบของชุมชน ทั้งยังสามารถป้องกันการเป็นแหล่งของพาหะเชื้อโรคต่างๆในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

ปริมาณขยะที่ครัวเรือนผลิตได้ต่อวัน (ก.ก.)

220.00 150.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

85.00 150.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนต้นแบบในจัดการขยะ

จำนวนครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

50.00 95.00
4 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภคลดลง

35.42 28.25
5 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาดลดลง

75.23 54.38

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 10
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนทำงานการปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนทำงานการปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด ประชุมคณะทำงานกรรมการชุมชน เจ้าหน้าที่จากเทศบาล
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 500 บาท

ค่าวัสดุสำนักงาน (กระดาษ ปากกา สมุดแฟ้มบาง ) เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2564 ถึง 16 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการคัดแยกขยะในชุมชนและรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

ค่าจัดทำไวนิล 2 ผืน (ขนาด 1.50 x 2.5 ม.)รวม 3.75 ตารางเมตรๆละ 120 บาท รวมเป็นเงิน 900 บาท

ค่าถ่ายเอกสาร 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ทราบว่ามีโครงการในพื้นที่

มีผู้มาสมัครเข้าร่วมโครงการ 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ปลอดโรค บ้านเรือนสะอาด ผู้อยู่อาศัยสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ ปลอดโรค บ้านเรือนสะอาด ผู้อยู่อาศัยสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

กรรมการชุมชนครัวเรีอนที่สมัคร เข้าร่วม อบรมให้ความรู้เรื่อง ขยะปลอดโรค บ้านเรือนสะอาด ผู้อยู่อาศัยสุขภาพดี

การจัดการขยะลดแหล่งเชื้อโรคอย่างถูกวิธี
ขยะมีคุณค่า พืชเจริญเติบโต ผู้คนปลอดสารเคมี

งบประมาณ

ค่าเช่าเต๊นท์ 1 หลัง เป็นเงิน 1,500บาท

ค่าเช่าเก้าอี้ จำนวน50 ตัวๆละ 7 บาท เป็นเงิน 350 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 55 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 2,750 บาท

ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 55 คนๆละ 60 บาท รวมเป็นเงิน 3,300 บาท

ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท

ค่าไวนิล ขนาด 2.0x 3.0 เมตร รวม 6 ตารางเมตร เป็นเงิน 720 บาท

ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุดๆละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

กระเป๋าผ้าพร้อมสกรีน จำนวน 50 ใบ ราคาใบละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ชุดอุปกรณ์สาธิตการคัดแยกขยะ จำนวน 3 ชุดๆละ 1100 บาท รวมเป็นเงิน 3,300 บาท

อุปกรณ์สาธิตในการคัดแยกขยะ เช่น ถุงขยะ เชือกมัดปาดถุง เป็นต้น รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ค่าวัสดุอุปกรณ์ (แฟ้มใส่เอกสาร ปากกา เทปกาว เชือก เป็นต้น) เป็นเงิน 800 บาท

อุปกรณ์ทำน้ำหมักชีวภาพ จากเศษอาหาร

1.ถังพลาสติก ทำน้ำหมัก ขนาด 5 ลิตร จำนวน 50 ใบๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

2.กากน้ำตาล 20 ลิตรเป็นเงิน 1,500 บาท

อุปกรณ์การทำปุ๋ยแบบฝังดิน

1.ถังพลาสติกทำปุ๋ยฝังดินไว้ปลูกต้นไม้ จำนวน 50 ใบ ใบละ 100 บาท 5,000 บาท

2.ปุ๋ยคอกดับกลิ่น 50 กระสอบกระสอบละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

3.เมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2564 ถึง 9 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการจัดการขยะ เพื่อลดแหล่งพาหะนำโรค จากฉี่หนู กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และเชื้อโรคอื่นที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย

ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีน้ำหมักและปุ๋ยคอกในการปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38820.00

กิจกรรมที่ 4 ครัวเรือนต้นแบบปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ชื่อกิจกรรม
ครัวเรือนต้นแบบปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมิณบ้านที่เข้าร่วมโครงการและคัดเลือกครั้วเรือนต้นแบบปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

งบประมาณ

เกียรติบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 5 ชุดๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 สิงหาคม 2564 ถึง 28 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดครั้วเรือนต้นแบบปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานติดตาม ประเมินผล เดือนละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานติดตาม ประเมินผล เดือนละครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

คณะกรรมการติดตาม เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 15 คน จำนวน 3 มื้อๆ ละ 25 บาทรวมเป็นเงิน 1,125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 13 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามการดำเนินการตามแผนงานโครงการในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1125.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียด

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 25 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 625 บาท

ค่าเอกสารประกอบการประชุม และ ปากกา กระดาษเป็นเงิน 350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 กันยายน 2564 ถึง 19 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานสรุปโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
975.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,320.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ชุมชนรู้ประเภทของขยะ และสามารถแยกประเภทขยะได้

2. ชุมชนมีนิสัยรักความสะอาด และมีความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อม

3. ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตและปราศจากโรคภัย


>