กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ชุมชนรอบรู้สุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ ด้วย 3อ.2ส.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านลากอ

1.นางตอยยยีบะห์ ลำเดาะ
2.นางกามารีเย๊าะ เปาะเซ็ง
3.นางอานีซ๊ะ บูงอแคะบอง
4.นางฮามีด๊ะลือแบลูวง
5.นางฮามีดะดาละ

หมู่ที่ 4๋,5,7,8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

229.00
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

201.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนิน ชีวิตของประชาชน มีการแข่งขันสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัว นิยมวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น จึงทำให้วิถี ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบกับการทำงาน บริโภคอาหารโดยไม่คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ การ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย เครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรค จากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ และมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากผลการการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2564 ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 201ราย(กลุ่มเสี่ยง ค่าความดันโลหิต sbp มีค่า >= 120 ถึง < 140 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 80 ถึง < 90 mmHgจำนวน 141 รายกลุ่มเสี่ยงสูง ค่าความดันโลหิต sbp มีค่า >= 140 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 90 mmHg มีจำนวน 60 ราย) และกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน229ราย(เสี่ยง ระดับน้ำตาล > 100 ถึง125 mg%จำนวน24ราย นอกจากนี้กลุ่มป่วยที่รับยาที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหาและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ตั้งแต่ปี 2559 – 2564 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 131 รายและมีผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงจำนวน344รายจากการตรวจติดตามประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มเสี่ยง พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ ปกติได้อย่างสม่ำเสมอเนื่องจากขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความ ดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากจนเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ ดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนรอบรู้สุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ ด้วย 3อ.2ส. ปีงบประมาณ2564ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวานและ ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

320.00 0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ร้อยละกลุ่มเสี่ยงได้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3 อ. 2 ส.

320.00 1.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วยต่อการเกิดโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจและหลอดเลือด เข้าถึงบริการวัดคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษาอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละกลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วยต่อการเกิดโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจและหลอดเลือด เข้าถึงบริการวัดคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษาอย่างต่อเนื่อง

320.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 1,380
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. กลุ่มเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 4.5,7,8 229
2. กลุ่มเสี่ยงต่อเบาหวาน หมู่ที่ 4.5,7,8 201

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชุมชนรอบรู้สุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ ด้วย 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนรอบรู้สุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ ด้วย 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ให้บริการคัดกรองความดันโลหิตสูงและเบาหวานกลุ่ม 35 ปีขึ้นไป และประเมิน CVD Riskscoreจากนั้นคัดแยกกลุ่ม ปกติเสี่ยงป่วยพร้อมจัดทำทะเบียน กลุ่มเสี่ยง HT -กลุ่มสงสัยป่วย sbp&amp;amp;gt;=140 หรือ dbp&amp;amp;gt;=90

- กลุ่มเสียง 2 sbpอยู๋ระหว๋าง 130 ถึง 139 หรือ dbpอย๋ระหว๋าง 85 ถึง 89
- กลุ่มเสียง 1 sbpอยู๋ระหว๋าง 120 ถึง 129 หรือ dbpอยู๋ระหว๋าง 80 ถึง 84 กลุ่มเสี่ยง DM -กลุ่มเสี่ยงFBS100-125mg/dl -กลุ่มเสี่ยงRPG 140-199mg/dl 2.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูง เพื่อตรวจยืนยันผลโดยทำการวัดความดันโลหิต
ด้วยตนเองที่บ้าน (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP)หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและขึ้นทะเบียนรายใหม่ 3ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน เพื่อตรวจยืนยันผลด้วยFBS และชึ้นทะเบียนรายใหม่หาก มีการวินิจฉัย 5จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก DPAC “7 สัปดาห์ รอบรู้สุขภาพ” ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันและเบาหวาน (เป้าหมาย20% ของกลุ่มเสี่ยง) โดยมีกิจกรรม ชั่งน้ำหนักวัดรอบเอว วัดความดัน และตรวจ
น้ำตาลในเลือดและมีโปรแกรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพร้อมบันทึกตามแบบฟอร์มแต่ละสัปดาห์ดังนี้ -สัปดาห์ที่ 1 ทำความรู้จักร่างกายตนเอง -สัปดาห์ที่ 2 แป้งหวานมันเค็ม กินอย่างไรไม่เกินเพื่มการออกกำลังกาย -สัปดาห์ที่ 3 เนื้อนม ไข่กินแบบไหนได้ประโยชน์ - สัปดาห์ที่ 4ผักผลไม้เพื่อสุขภาพ - สัปดาห์ที่ 5 การจัดการความเครียดนอนหลับให้เพียงพอ -สัปดาห์ที่ 6 ทบทวยวินัยและสร้างแรงควบคุม ไดอารี่ลดน้ำหนัก -สัปดาห์ที่ 7 พิชิตเส้นชัยวิถึสุขภาพดี งบประมาณ- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท80 คน7 มื้อ เป็นเงิน 14,000 บาท 6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

ราละเอียดงบประมาณ 1.กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยงโดย นสค.และ อสม. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 320 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 2. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก DPAC “7 สัปดาห์ รอบรู้สุขภาพ” ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท80 คน7 มื้อ เป็นเงิน 14,000 บาท 3. ค่าเครื่องวัดความดันแบบดิจิตอล เพื่อใช้ในกิจกรรมติดตามการดูและผู้ป่วยรายกรณีที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยต่อความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยความความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันไม่ได้ ให้ใช้ยืมกลับไปวัดความดันด้วยตนเองที่บ้านจำนวน 4 เครื่อง ราคา เครื่องละ 2500 บาทเป็นเงิน 10,000บาท รวมเป็นเงิน 32,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 90ของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองเบาหวาน
  2. ร้อยละ 90ของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง
  3. ร้อยละ90 การตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน
  4. ร้อยละ90 การตรวจติดตามกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  5. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  3 อ. 2ส.
  6. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  3 อ. 2ส.
  7. ร้อยละ 20 ของกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมกิจกรรม  “7 สัปดาห์ รอบรู้สุขภาพ”
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมาตรฐานตามเกณฑ์
2. กลุ่มเสี่ยงได้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก3 อ. 2 ส. และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ ถูกต้องอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
3. กลุ่มเสี่ยง สงสัยป่วยต่อการเกิดโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคหัวใจและหลอดเลือด เข้าถึงบริการวัดคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และ รักษาอย่างต่อเนื่อง


>