กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุสุขใจสูงวัยอย่างมีคุณค่า ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพอ

ชมรมผู้สูงอายุประจำหมู่บ้านเมาะลาแต

1 นายวิโรจน์ มิตทจันทร์
2 นายดลเล๊าะ ดอเส็ง
3.นางสาวรอมือละกะเส็มมิ
4.นางสาวนูรีฮ๊ะและปายัง
5.นางสาวมารีเย๊าะมะและ

เขตรับผิดชอบรพ.สต.เมาะลาแต (พื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งพอ)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

70.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

80.00

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ประเทศไทยถือเป็นสังคมผู้สูงอายุ ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติเป็นที่เรียบร้อย นั้นคือ ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ โดยในปี พ.ศ.2558 ประเทศไทยมีประชากรที่ีมีอายุสูงกว่า 60 ปีสูงถึงร้อยละ 15.6 ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 10.42 ล้านคนและจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ เมื่อมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ประเทศจะก้าวเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด ในปีพ.ศ. 2578 ซึ่งประชากรที่สูงอายุจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมดนอกจากนี้ จากการประเมินคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ในจังหวัดสงขลามีจำนวนผู้สูงอายุ ทั้งหมด 159,060 คนคิดเป็น 11% ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็นชาย 71,082 คน หญิง 87,978 คน
สำหรับตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อมูลจากการคัดกรองผู้สูงอายุมีจำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 303 คน และพบว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ ได้แก่ ปัญหาการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง และอีกหลายโรค ซึ่งส่งผลต่อการำเเนินชีวิต ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายและกำหนดแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุตลอดมา แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ทั้งนี้แม้แต่การเข้าถึงบริการที่ไม่ทั่วถึง เนื่องจายังเป็นการดูแลและบริการที่แยกส่วนระหว่างชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรต่างๆ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะลาแต ตำบลทุ่งพอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ ผู้สูงอายุสุขใจสูงวัยอย่างมีคุณค่า ปี 2564 ขึ้น เพื่่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ของตำบลทุ่งพอรู้จักการดูแลรักษาสุขภาพให้สมบูนณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างการและจิตใจ ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับช่วงวัย

ผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์ที่พึงประสงค์ ร้อยละ70

80.00 70.00
2 ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกันสร้างความสามัคคีในชุมชน

ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดอาการโรคซึมเศร้าได้

60.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งพอ 30
อสม.
แกนนำหมู่บ้าน

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการผู้สูงอายุสุขใจสูงวัยอย่างมีคุณค่า

ชื่อกิจกรรม
โครงการผู้สูงอายุสุขใจสูงวัยอย่างมีคุณค่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมผู้เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ตัวแทนผู้สูงอายุ อสม. 2.ทำประชาคมหมู๋บ้านเพื่อรับทราบปัญหา
3.ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ 1
-คัดกรองและตรวจสุขภาพผู้สูงอายุที่พึงประสงค์ -จัดตั้งชมรมหมู่ 6 -นัดหมายและจัดกิจกรรม เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 เดือน -กิจกรรมการออกกำลังกาย
จัดเวทีประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ -ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหา และค้นหาบุคคลตนแบบในระดับหมู่บ้าน -ประเมินโครงการ/รายงานผลการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.ค่าวัสดุผ้าขาวม้าสำหรับออกกำลังกาย จำนวน 30 ผืนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500.-บาท 2.ค่าลูกประคบสมุนไพร ชุดละ 70 บาทจำนวน 30 ชุด เป็นเงิน 2,100.-บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆละ 25 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 7,500.-บาท 4.สมุดประจำตัวผู้สูงอายุ จำนวน 30 เล่ม ๆละ 25.- บาท เป็นเงิน 600.-บาท 5.ไวนิลโครงการ ขนาด 1.2*2.4 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 547.-บาท 6.สื่อความรู้สุขภาพ 2 ภาษา เป็นเงิน 500.-บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 12,747 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีการจัดกิจกรรมพบปะ พูดคุยของกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมาย 3.การดำเนินงานของผู้สูงอายุมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12747.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,747.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารภถังเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองทั้งด้านโภชนาการ การฟื้นฟูสารรถภาพร่างกายและจิตใจ และสามารถดูแลตนเองได้ เกิดกระแสความตื่นตัว มีส่วนร่วมในชุมชน ดำรงชีวิตอย่างมีคุนค่า และมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและมีสุขภาพที่ดี


>