กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ “พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

ณ ที่ทำการหมู่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุได้มาร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาไปสู่ลูกหลาน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกิดความสุขทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อีกทั้งยังได้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเหมาะกับวัย มีอายุยืนยาว มีความสุขในบั้นปลายชีวิต แล

 

360.00

สังคมไทย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายความว่าประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ มีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งองค์การสหประชาชาติให้คำนิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จำนวนประชากรผู้สูงอายุประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 และแนวโน้มผู้สูงอายุเหล่านี้อยู่คนเดียวหรืออยู่ตามลำพังกับคู่สมรสเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อการให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อายุยิ่งสูงขึ้นยิ่งเจ็บป่วย โดยเฉพาะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไขมันในเลือดสูงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รักษาไม่หาย มีภาวการณ์พึ่งพา ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่องและการดูแลระยะยาว
จากข้อมูลประชากรพบว่าในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยะหามีผู้สูงอายุจำนวนถึง 960 คน ผู้สูงอายุเหล่านี้ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น อีกทั้งมีแนวโน้มเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ เป็นส่วนมาก ชีวิตในบั้นปลายย่อมเป็นภาระลูกหลาน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา เห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัด “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา” ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มาร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาไปสู่ลูกหลาน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกิดความสุขทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม อีกทั้งยังได้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเหมาะกับวัย มีอายุยืนยาว มีความสุขในบั้นปลายชีวิต และยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียงใช้ในชีวิตประจำวัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง

ร้อยละผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเองมากขึ้น

360.00 1.00
2 2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ใช้เวลายามว่างให้เป็นประโยชน์ ดัวยการออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมกับวัย

ร้อยละผู้สูงอายุได้ใช้เวลายามว่างให้เป็นประโยชน์ ดัวยการออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมกับวัย

360.00 1.00
3 3. เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพได้จริงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ร้อยละผู้สูงอายุได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการดูแลสุขภาพได้จริงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

360.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 360
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและจัดกิจการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าและออกกำลังกายโยคะและฝึกปฏิบัติการออกด้วยที่นวดฝ่าเท้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและจัดกิจการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าและออกกำลังกายโยคะและฝึกปฏิบัติการออกด้วยที่นวดฝ่าเท้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม 4 การดำเนินกิจกรรม 1) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัย 2) กิจการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าและออกกำลังกายโยคะ 3) ฝึกปฏิบัติการออกด้วยที่นวดฝ่าเท้า 5 สรุปผลการดำเนินโครงการ

รายละเอียดงบประมาณ 1. ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 800 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 360 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 18,000 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 360 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยกร จำนวน 9 วัน ๆ ละ 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการฝึกอบรม 5.1 ผ้าขาวม้า จำนวน 360 ผืน ๆ ละ 90 บาทเป็นเงิน 32,400 บาท 5.2 เสื่อโยคะ จำนวน 360 ผืน ๆ ละ229 บาทเป็นเงิน 82,440 บาท 5.3 ที่นวดฝ่าเท้า จำนวน 54 อันๆ ละ 450 บาทเป็นเงิน 24,300 บาท 5.4 ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารพร้อมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับใช้ในการฝึกอบรม จำนวน 360 ชุดๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท รวมเป็นเงิน 217,340บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเองและผู้สูงอายุได้ใช้เวลายามว่างให้เป็นประโยชน์ ดัวยการออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมกับวัย และผู้สูงอายุได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการดูแลสุขภาพได้จริงทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
217340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 217,340.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง
2 ผู้สูงอายุได้ใช้เวลายามว่างให้เป็นประโยชน์ ดัวยการออกกำลังกายที่มีความเหมาะสมกับวัย
3 ผู้สูงอายุได้ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการดูแลสุขภาพได้จริงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ


>