กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1. นางรอคายะแก้วเกาะสบ้า
2. นางฮาบีเบาะมะมิง
3. นางรอหมะดูซง
4. นางแวนะซือรี
5. นางคอรีเยาะแดวอสนุง

ม.1 ,2,3,6,9 ตำบลยะหา อำเภอยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หญิงวัยเจริญพันธุ์บางกลุ่มไม่มีความตระหนักถึงปัญหาการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากหญิงวัยเจริญพันธุ์มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องกับการตรวจ มักจะพบในกลุ่มผู้ป่วยในภูมิภาคยากจนและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

 

100.00

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับสาม รองมาจากโรคหัวใจและอุบัติเหตุ มะเร็งที่เกิดในสตรีมากที่สุด คือ มะเร็งปากมดลูก รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม (ดังสถิติสิบอันดับแรกของมะเร็งใน สตรีของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจค้นหาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกด้วยวิธีการที่ ง่าย มีความแม่นยำและราคาไม่แพง ได้แก่การตรวจค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกด้วยวิธี Pap Smear นอกจากนี้ยังมีหญิงวัยเจริญพันธุ์บางกลุ่มไม่มีความตระหนักถึงปัญหาการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากหญิงวัยเจริญพันธุ์มีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องกับการตรวจ มักจะพบในกลุ่มผู้ป่วยในภูมิภาคยากจนและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
จากการดำเนินงานตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของศูนย์สุขภาพอำเภอเมืองยะหาได้ดำเนินการคัดกรองแล้วนั้น ผลงานสะสมตั้งแต่ปี 2563 – 2564 กลุ่มเป้าหมายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีจำนวน 950 คน ตรวจคัดกรองได้ 300 คน คิดเป็นร้อยละ 31.57ส่วนการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ผลการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองยังไม่ถูกต้องประเมินโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพอำเภอเมืองยะหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากการ การประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักถึงโทษภัยของโรคมะเร็งปากมดลูกและยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเท่าที่ควร โดยผู้ที่ได้รับการตรวจคัดกรองก็จะเป็นผู้ที่เคยได้เข้ารับการอบรมในปีที่ผ่านมา
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรีกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพสตรีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี ๒๕๖4 โดยโครงการดังกล่าวจะรณรงค์เร่งรัดให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย 5 หมู่บ้าน เข้ารับการอบรมให้มีความรู้ เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม สอนการตรวจเต้านมและบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมายโดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์สุขภาพอำเภอเมืองยะหา ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อรณรงค์ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย 1 ครั้ง/ ปีและตรวจเต้านมด้วยตนเอง เดือนละ1 ครั้ง

1.หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรอง โดยวิธี Pap Smear และได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าทีจำนวน 100 ราย

0.00
2 2.เพื่อรณรงค์ให้ความรู้และเกิดความตระหนักในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ในเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

2.หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-60 ปี. มีความรู้ในด้านการป้องกันมะเร็งปาก มดลูกและมะเร็งเต้านมร้อยละ 90

0.00

ข้อที่ 1.เพื่อรณรงค์ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อย 1 ครั้ง/ ปีและตรวจเต้านมด้วยตนเอง เดือนละ1 ครั้ง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อค้นหาความผิดปกติระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็ง

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เพื่อค้นหาความผิดปกติระยะเริ่มแรกของโรคมะเร็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. สำรวจและทำทะเบียนกลุ่มสตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 100 ราย
  3. จัดเตรียมเอกสารต่างๆ
  4. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม
  5. นัดกลุ่มเป้าหมายมาร่วมกิจกรรมอบรม โดยมีเนื้อหาดังนี้

- ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม - การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
- ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
6.ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เคยรับการตรวจในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา และส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา 7. ประเมินผลการดำเนินงาน โดย - แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฯ
- ทะเบียนการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
-แบบประเมินทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
8.สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่น

(1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน100 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50 บาทเป็นเงิน5,000 บาท (3) ค่าป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย ป้ายละ 800 บาท เป็นเงิน800บาท (4) ค่าไม้ Pap smear 6 กล่อง x 160 บาท เป็นเงิน960บาท รวม...11,760....บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 1 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น


>