กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านอุเผะ ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กรงปินัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านอุเผะ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กรงปินัง

รพ.สต.บ้านอุเผะ

1.นางอาลาวียะห์กาเจ โทร 087-2889119
2. นางสาวนูรีฮันดอเล๊าะ โทร 084-8561212
3. นางสาวซูรีณาบูเกะมาตี โทร 088-3915402

พื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต. บ้านอุเผะ หมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยฯครั้งที่5พ.ศ. 2557พบว่า สัดส่วนของผู้เป็นเบาหวานที่
ไม่ทราบว่าตนเองเป็นเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 31.2 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 43.1 ในปี 2557 และผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ไม่ทราบว่าตนเองเป็นความดันโลหิตสูง จากร้อยละ 50.3 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 44.7ในปี 2557 แสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ไทยที่เป็นเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 40 ไม่ได้รับ การวินิจฉัยจากวิธีการคัดกรองที่ผ่านมา ดังนั้น แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560และแนวทาง การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 จึงได้กำหนดวิธีการคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและ การรักษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งการคัดกรอง-วินิจฉัยและประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้สามารถพบกลุ่มที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค กลุ่มสงสัยป่วยหรือกลุ่มป่วยแล้วแต่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองวินิจฉัยแต่แรก การดูแลกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยดังกล่าว ทั้งที่มีและไม่มีอาการ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและ วิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสมอย่างเข้มข้น เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง สามารถป้องกันและยืดระยะเวลาการเป็นโรคออกไปได้ถึงร้อยละ 50 จึงเป็นวิธีการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่ดีที่สุด
จากผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะตำบลกรงปินัง จังหวัดยะลาตามนโยบายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคมพ.ศ. ๒๕63พบว่า เป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานมีจำนวน 1,942 คน ได้รับคัดกรอง 1,931 คน คิดเป็นร้อยละ 99.43มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 100 รายคิดเป็นร้อยละ 5.18 และมีผู้ที่เสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.41 และเป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ต้องได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวน 1,650 คน ได้รับคัดกรองจำนวน 1,636คนคิดเป็นร้อยละ 99.15 มีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 136 รายคิดเป็นร้อยละ 8.31 และมีผู้ที่เสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 129 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.89
จากสภาพปัญหาดังกล่าว จะเห็นได้ว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงดังกล่าว ยังมีแนวโน้มของกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในปี 2564 ไตรมาสแรกพบจำนวนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 1.46 โดยในปี 2564 มีกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 3.72 และพบกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 0.25 โดยในปี 2564 มีกลุ่มสงสัยเบาหวาน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 0.16ในส่วนของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในไตรมาสแรกของปี 2564 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 2.56 โดยในปี 2563 มีกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 175 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.87 แต่พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 2.86 โดยในปี 2564 มีกลุ่มสงสัยโรคความดันโลหิตสูง 81 คน คิดเป็นร้อยละ 5.03 และหากไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง จะกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังรายใหม่ ในอนาคตได้ และหากไม่ได้รับการติดตามการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียนและรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง จะกลายเป็นกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนอันตราย ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก ตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจโรคไต ในอนาคตได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วย และสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายของประเทศในการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะตำบลกรงปินัง จังหวัดยะลา ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ป้องกันภาวะแทรกซ้อน รพ.สต.บ้านอุเผะ ปี ๒๕๖๔ ตลอดจนให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในครั้งนี้ขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) ตามเกณฑ์มาตรฐาน การวินิจฉัยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและลดการเกิดโรคเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูงรายใหม่ และเพื่อให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสี่ยงสูงหรือสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จ ได้เข้าสู่ระบบการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องต่อไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ในโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง และรับการประเมินติดตามผลการปรับเปลี่ยนหลังจากอบรม 1 3 6 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ จากการติดตามหลังการอบรม 6 เดือน

69.00 40.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง และรับการประเมินติดตามผลการปรับเปลี่ยนหลังจากอบรม 1 3 6 เดือน ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มีระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ จากการติดตามหลังการอบรม 6 เดือน

177.00 76.00
3 เพื่อให้ กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานในโครงการฯ ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จได้รับการส่งต่อรับการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องต่อไป

ร้อยละ 100 ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน ในโครงการฯ ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จ โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ในเกณฑ์สงสัยป่วย ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลกรงปินัง เพื่อวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

4.00 4.00
4 เพื่อให้กลุ่มสงสัยโรคความดันโลหิตสูง ในโครงการฯ ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จได้รับการส่งต่อรับการวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องต่อไป

ร้อยละ 100 ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในโครงการฯ ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จ โดยมีระดับความดันโลหิตหลังวัดที่บ้าน 7 วัน ยังสูงอยู่ในเกณฑ์สงสัยป่วย ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลกรงปินัง เพื่อวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

81.00 30.00
5 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อายุ 35 ปีขึ้นไป ในหมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6 เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ เข้าถึงบริการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรักษาอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขต หมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6 เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ได้รับการตรวจคัดกรองประจำปี  โดยการตรวจวัดความดันโลหิต และเจาะเลือดน้ำตาลปลายนิ้วเพื่อตรวจหาโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

1942.00 1748.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 40
2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 76
3. กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน 4
4. กลุ่มสงสัยโรคความดันโลหิตสูง 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. รณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในหมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6 เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ

ชื่อกิจกรรม
1. รณรงค์คัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในหมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6 เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่และอสม.หมู่ที่ 2 3 4 5 และหมู่ที่ 6 ออกคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวนเป้าหมาย 1,942 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวนเป้าหมาย 1,942 คน ผลเป็นปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. การคืนข้อมูลสถานะทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยจัดทำใบแจ้งสติกเกอร์ 7 สี สู่สุขภาพชีวิตที่ยั่งยืน (ปิงปอง 7 สี)

ชื่อกิจกรรม
2. การคืนข้อมูลสถานะทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยจัดทำใบแจ้งสติกเกอร์ 7 สี สู่สุขภาพชีวิตที่ยั่งยืน (ปิงปอง 7 สี)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การคืนข้อมูลสถานะทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยจัดทำใบแจ้งสติกเกอร์ 7 สี สู่สุขภาพชีวิตที่ยั่งยืน (ปิงปอง 7 สี) เพื่อใช้ในการคืนข้อมูลสภาวะทางสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในพื้นที่รับผิดชอบหมู่ที่ 2 3 4 5 และ หมู่ที่ 6 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอุเผะ ในช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 436 คน รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าถ่ายเอกสารสติกเกอร์ 7 สีเปลี่ยนชีวิตสู่สุขภาพดีที่ยั่งยืน (ปิงปอง 7 สี) จำนวน 436 แผ่น X 10 บาท เป็นเงิน4,360บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถรับรู้สถานะสุขภาพของตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4360.00

กิจกรรมที่ 3 3. อบรมแกนนำด้านการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
3. อบรมแกนนำด้านการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแกนนำด้านการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 73 คนๆละ 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน3,650บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมโครงการ 73 คนๆละ 65 บาท เป็นเงิน4,745 บาท - ค่าวิทยากร300 บาท/ชม. X 3 ชม. X 2 คน เป็นเงิน1,800บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการฯผืนละ 500 บาท (ขนาดกว้าง 1 เมตร X ยาว 2 เมตร) จำนวน 1 ผืน
เป็นเงิน 500บาท - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์การให้บริการคลีนิกDPAC สำหรับติดประชาสัมพันธ์ในชุมชน 5 หมู่บ้าน ผืนละ 500 บาท (ขนาดกว้าง 1 เมตร X ยาว 2 เมตร) จำนวน 14 ผืน เป็นเงิน 7,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำด้านการติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4. อบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้วย 3อ2ส1ฟ1น

ชื่อกิจกรรม
4. อบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้วย 3อ2ส1ฟ1น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงแก่กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้วย 3อ2ส1ฟ1น การสาธิตการทำอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม จำนวน 5 รายการ ได้แก่ แกงเลียง แกงกะทิ บูดูสมุนไพร น้ำพริกสุขภาพฟักทองเชื่อม ตรวจคัดกรองสุขภาพ และฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายตามความเหมาะสม ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150คน (แบ่งอบรม เป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน) 50 คน X 25 บาท X 2 มื้อ X 3 รุ่นๆละ 1 วัน เป็นเงิน 7,500บาท - ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน (แบ่งอบรม เป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน) 50 คน X 65 บาท X 1 มื้อ X 3 รุ่นเป็นเงิน 9,750บาท - ค่าวิทยากร 300 บาท/ชม. X 2 ชม. X 3 รุ่น X 3 คน เป็นเงิน 5,400บาท - ค่าชุดสื่อโภชนาการอาหารปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 8 รายการเป็นเงิน 4,950บาท - ค่าวัตถุดิบในการสาธิตทำเมนูอาหาร ลด หวาน มัน เค็มเป็นเงิน 4,500บาท - ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว จำนวน 10 เครื่อง X 1,500 บาท เป็นเงิน15,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงด้วย 3อ2ส1ฟ1น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47100.00

กิจกรรมที่ 5 5. กิจกรรมประชุมติดตาม ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2 ครั้ง หลังอบรม 3 เดือน และ 6 เดือน

ชื่อกิจกรรม
5. กิจกรรมประชุมติดตาม ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2 ครั้ง หลังอบรม 3 เดือน และ 6 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมติดตาม ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 2 ครั้ง หลังอบรม 3 เดือน และ 6 เดือน ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 โดยจะมีการตรวจสุขภาพซ้ำ (ติดตามทั้งหมดจำนวน 3 ครั้ง หลังอบรม 1 3 6 เดือน โดยครั้งที่ 1 นัดติดตามในคลินิก DPAC หรือแกนนำติดตามด้านการปรับเปลี่ยนติดตามที่บ้าน ) รายละเอียดค่าใช้จ่าย กิจกรรมประชุมติดตามครั้งที่ 1 หลังอบรม 3 เดือน ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน (แบ่งอบรม เป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน) 50 คน X 25 บาท X 1 มื้อ X 3 รุ่นเป็นเงิน 3,750บาท - ค่าวิทยากร 300 บาท/ชม. X 2 ชม. X 3 รุ่น X 3 คนเป็นเงิน 5,400บาท รายละเอียดค่าใช้จ่าย กิจกรรมประชุมติดตามครั้งที่ 2 หลังอบรม 6 เดือน ดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน (แบ่งอบรม เป็น 3 รุ่นๆละ 50 คน) 50 คน X 25 บาท X 1 มื้อ X 3 รุ่นเป็นเงิน 3,750บาท - ค่าวิทยากร 300 บาท/ชม. X 2 ชม. X 3 รุ่น X 3 คนเป็นเงิน 5,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผลตรวจสุขภาพซ้ำหลังอบรม 3 และ 6 เดือน
  2. บทเรียนจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 69,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ จากการติดตามหลังการอบรม 6 เดือน
2. ร้อยละ 60 ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีระดับความดันโลหิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ จากการติดตามหลังการอบรม 6 เดือน
3. ร้อยละ 60 ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นเวลา7 วัน
4. ร้อยละ 100 ของกลุ่มสงสัย โรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการเจาะเลือดFBS ทางหลอดเลือดดำเพื่อยืนยันผลการเป็นโรคเบาหวาน
5. ร้อยละ 100 ของกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในโครงการฯ ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่สำเร็จ โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ในเกณฑ์สงสัยป่วย และระดับความดันโลหิตหลังวัดที่บ้าน 7 วัน ยังสูงอยู่ในเกณฑ์สงสัยป่วย ได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลกรงปินัง เพื่อวินิจฉัย ขึ้นทะเบียน และรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
6. มีทะเบียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย และกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ (รายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดตามได้)
7. มีทะเบียนประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจคัดกรองระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหา่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แยกเป็นกลุุ่มดี กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย


>