กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมแม่ เฝ้าระวังลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ชมรม อสม.รพ.สต.คลองแงะ

1. นางนฤมลสวนอินทร์
2. นางสาวฝีเย๊าะเอียดหนัน
3. นางกรรณิการ์เพรุเพชรแก้ว
4. นางโฉมบุญยอด
5. นางลำดวนอินไชยทอง

หญิงตั้งครรภ์และหญิงวัยเจริญพันธ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพสต.คลองแงะ ตำบลน้ำขาว 5 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ 2,4,7,8,11

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์(คน)

 

10.00
2 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)

 

1.00
3 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

5.00
4 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธ์ุได้รับความรู้และสามารถประเมินภาวะปกติและส่งต่อทันท่วงที (คน)

 

34.00

งานอนามัยแม่และเด็กเป็นบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ และการดูแลหลังคลอด เพื่อให้การตั้งครรภ์และการคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และมีคุณภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปัญหางานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญและเด่นชัด คือ การมาฝากครรภ์ช้า (อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์) มีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ มารดาตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยง และมารดาหลังคลอดไม่มีความรู้ด้านการวางแผนครอบครัว
จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ ปี 2561 – 2563 พบว่าผลการดำเนินงานยังไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด หากหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางจะส่งผลกระทบทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม พัฒนาการล่าช้า มารดาตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด และพบมารดาตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีประวัติผ่าตัดคลอดเพิ่มมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาในระยะยาวและต่อเนื่อง แนวทางการดูแลและป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวคือต้องให้การดูแลที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพและเสริมทักษะการดูแลหลังคลอด และทารกควรได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย6 เดือน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ตอบสนองความต้องการของเด็กทุกด้านตามวัย การมีส่วนร่วมของชุมชนมีเครือข่ายที่เข้มแข็ง
ชมรม อสม และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพแม่และเด็กแบบองค์รวมให้ประสบความสำเร็จและมีคุณภาพจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมแม่เฝ้าระวังลูก เพื่อดูแลสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ประจำปี 2564 ขึ้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าว และเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีการตั้งครรภ์ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลสุขภาพติดตามเยี่ยมกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ครรภ์เสี่ยงและหญิงหลังคลอด
  1. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ 2.หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังป้องกัน ไม่เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
  2. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที 4.เพื่อให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธ์ุ
0.00
2 สามารถนำการปฏิบัติงานจากโครงการมาบันทึกเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา

ผลการดำเนินโครงการสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาสุขภาพรายบุคคลได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม.แต่ละหมู่ค้นหาหญิงตั้งครรภ์แนะนำให้มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์และติดตามหญิงหลังคลอดในเขตพื้นที่รับผิดชอบในชุมชน 2.เจ้าหน้าที่และ อสม.ติดตามเยี่ยมบ้านหญิงมีครรภ์ก่อนคลอดอย่างน้อย1 ครั้ง มารดาและทารกหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัวชี้วัดผลผลิต 1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์และสามีมีความรู้และการปฏิบัติ ตัวในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ 2.ร้อยละหญิงมีครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพ ตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 3.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง

ชื่อกิจกรรม
3.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าวิทยากรให้ความรู้การดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด ชั่วโมง 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม กลุ่มเป้าหมายจำนวน50คน คนละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันจำนวน50คนคนละ 50 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 2,500บาท
  4. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน1 ป้ายเป็นเงิน 1,200 บาท
  5. ค่าเอกสารในการจัดอบรม 50 คน x 1 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  6. วัสดุดำเนินการโครงการส่งเสริมแม่เฝ้าระวังลูกฯ เป็นเงิน 4,000 บาท หมายเหตุทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยกันได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ
2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังป้องกัน ไม่เกิดอาการแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
3. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมารดาและทารกหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง สามารถประเมินภาวะผิดปกติและส่งต่อทันท่วงที


>