กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาสาร่วมใจคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง

 

100.00

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา ได้เล็งเห็นความสำคัญของ
เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยโดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัว และชุมชน โดยการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพ ตลอดจนโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง
ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนสมาชิก อย.น้อย มีส่วนร่วมในการช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าระวัง
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประกอบกับ อย.น้อย จะมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนการทำหน้าที่ ทำให้การทำงานบ้างครั้งไม่ต่อเนื่อง เพราะขาดความรู้และทักษะที่จะนำไปปฏิบัติ ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จึงได้จัดอบรมอย.น้อย ในโรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตตำบลยะหาเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพให้แก่อย.น้อย เพื่อช่วยให้โรงเรียนตลอดจนในชุมชนได้รับความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจให้กับ อย.น้อย เกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกบริโภคอย่างถูกต้อง

ร้อยละ อย.น้อย ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกบริโภคอย่างถูกต้อง

70.00 0.00
2 2. เพื่อสร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ภายในโรงเรียนฯ

ร้อยละเกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อ และเลือกบริโภคอย่างถูกต้อง

ร้อยละเด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อ และเลือกบริโภคอย่างถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่เป้าหมายและสาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารจากกลุ่มตัวอย่าง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่เป้าหมายและสาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารจากกลุ่มตัวอย่าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการฯ / ประชุมและวางแผนการดำเนินงาน
  3. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ
  4. ประสัมพันธ์โครงการ
  5. การดำเนินโครงการ 5.1 จัดอบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารแก่เป้าหมาย 5.2 สาธิตการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารจากกลุ่มตัวอย่าง 5.3 สรุปประเมินผลกิจกรรมดำเนินการของโครงการ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา จำนวน 25,250 .- บาท รายละเอียดดังนี้

  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน1 ผืน ๆ ละ 800 บาท เป็นเงิน800 บาท
  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
  4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
    1. ค่าอุปกรณ์ทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ประกอบด้วย 5.1 ชุดทดสอบสารฟอร์มาลินในอาหาร จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน250บาท 5.2 ชุดทดสอบซัลไฟต์ (สารฟอกขาว) ในอาหาร จำนวน 1 ชุดเป็นเงิน400บาท 5.3 ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ในอาหาร จำนวน1 ชุดเป็นเงิน400บาท 5.4 ชุดทดสอบยีสต์และเชื่อราในอาหารจำนวน1 ชุด เป็นเงิน700บาท 5.5 ชุดทดสอบสีสังเคราะห์ในอาหาร จำนวน1 ชุดเป็นเงิน800บาท 5.6 ชุดทดสอบซาลิซิลิค (สารกันรา) ในอาหาร จำนวน1 ชุดเป็นเงิน550บาท 5.7 ชุดทดสอบสารเคมีกำจัดแมลงในผัก ผลไม้ จำนวน1 ชุดเป็นเงิน 1,800 บาท 5.8 ชุดทดสอบโคลิฟอร์มในอาหาร จำนวน1 ชุดเป็นเงิน 1,950 บาท
  5. ค่าเอกสารพร้อมอุปกรณ์การอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,250 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ และทักษะในด้านสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อย.น้อย ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกบริโภคอย่างถูกต้อง
2. เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
3. เด็กและเยาวชน มีพฤติกรรมการเลือกซื้อ และเลือกบริโภคอย่างถูกต้อง


>