กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงเรียนบ้านลากอ

ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านลากอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนั้นจะส่งผล ให้การเรียนรู้และการพัฒนาการที่ดีหากในวัยเด็กได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องในอนาคตที่เติบโตเป็น ผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเป็นต้นแบบที่ดีแก่สมาชิกในครอบครัวและชุมชนสามารถ

 

250.00

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้ดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School ขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริงและขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป เด็กและเยาวชนมีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนั้นจะส่งผล
ให้การเรียนรู้และการพัฒนาการที่ดีหากในวัยเด็กได้รับการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องในอนาคตที่เติบโตเป็น
ผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเป็นต้นแบบที่ดีแก่สมาชิกในครอบครัวและชุมชนสามารถที่จะลดค่าใช้จ่าย
ด้านสุขภาพและเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี
โรงเรียนบ้านลากอ จึงดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้โรงเรียนสะอาด น่าอยู่ และเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการขยะ

โรงเรียนสะอาด น่าอยู่ น่าเรียน

250.00 0.00
2 2 เพื่อกระตุ้น รณรงค์ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการลดปริมาณขยะ การแยกขยะและการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการรวบรวมขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ให้กับนักเรียน

นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถลดปริมาณขยะและจัดการขยะได้อย่างถูกต้อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 250
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/03/2021

กำหนดเสร็จ 10/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ให้กับครูและนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ให้กับครูและนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ให้กับครูและนักเรียน ค่าวิทยากร 1 คน600 บ. x 6 ชม. = 3,600 บ.
    ค่าอาหารว่าง 2 มื้อx25 บ.X250 คน =12,500 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

กิจกรรมที่ 2 2 กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ / กิจกรรม Big Cleaning Day

ชื่อกิจกรรม
2 กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ / กิจกรรม Big Cleaning Day
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
  • กิจกรรม Big Cleaning Day

รายละเอียดงบประมาณ ค่าวัสดุ
- ถังหมัก 6 ใบx 300 บาท = 1,800 บ. - กากน้ำตาล 40 ลิตรx25บาท = 1,000 บ.
- หัวเชื้อจุลินทรีย์ 10 ลิตร x 90บาท = 900 บ. - ถังขยะแยกประเภท ถังขยะพลาสติก ขนาด 60ลิตร 8 ใบ x 1,000 บาท= 8,000บ. - ไม้กวาดทางมะพร้าว 60อันx50บาท = 3,000 บ. - คราดพลาสติก 38 อัน x 150บาท = 5,700 บ. - ไม้ถูพื้น 10 ด้าม x 150 บาท = 1,500 บ. - ไม้ขัดพื้นห้องน้ำ 10 ด้าม x 150 บาท = 1,500 บ. - น้ำยาล้างห้องน้ำ 20 ขวด x 50 บาท = 500 บ. - น้ำยาถูพื้น 20 ขวด x 50 บาท = 500 บ. -ถุงดำ ขนาด 30 x 40 นิ้ว 50 แพ็ค x 60 บาท = 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและระตุ้น รณรงค์ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการลดปริมาณขยะ การแยกขยะและการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการรวบรวมขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ให้กับนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27400.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมการรณรงค์เก็บขยะในโรงเรียนและ ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมการรณรงค์เก็บขยะในโรงเรียนและ ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมการรณรงค์เก็บขยะในโรงเรียนและ ชุมชน
  • กิจกรรมส่งเสริม การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย
  • การประกวดคำขวัญเกี่ยวกับการรณรงค์สิ่งแวดล้อม
  • กิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
  • กิจกรรมรักโรงเรียนรักชุมชนรักษ์ขยะ
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มีนาคม 2564 ถึง 10 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อกระตุ้น รณรงค์ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกและความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางในการลดปริมาณขยะ การแยกขยะและการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งการรวบรวมขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี ให้กับนักเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ครู บุคลากร และนักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2 โรงเรียนมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี
3 นักเรียนมีรายได้เสริมจากกิจกรรมการแยกขยะ
4 สภาพแวดล้อมในโรงเรียนดีขึ้น ไม่มีมลพิษในสิ่งแวดล้อม


>