กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านใสประดู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

ชมรม อสม.ตำบลเขาปู๋
1) นายจรัญเกลาแก้ว
2) นายอาคมคงรอด
3) นางสำรวยเพชรเรืองสุด
4) นางศิรประภา พรหมแก้ว
5) นายสมศักดิ์สุขยูง

ตำบลเขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลปัจจุบันพบว่าปัญหาขยะของชุมชนบ้านใสประดู่เป็นปัญหาหลักของชุมชนโดยในปัจจุบันมีปริมาณขยะ ร้อยละ 80 ของขยะทั้งหมดมีกระบวนการในการกำจัดโดยการเผา และการนำไปทิ้งในที่สาธารณะ ยังขาดการจัดการที่เป็นระบบและถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและมีจุดเสี่ยงมีการนำขยะมากองไว้ในที่สาธารณะ ไม่มีการจัดการส่งผลกระทบไปในอีกหลายๆปัญหา เช่น ปัญหาการหมักหมมของขยะในที่สาธารณะเกิดกลิ่นเหม็น นอกจากนี้ยังมีขยะทิ้งอยู่ข้างถนนริมสวนยาง บริเวณใกล้บ้านทิ้งขยะเช่นกระป๋อง แก้ว ถุงพลาสติก หรือภาชนะอื่นๆเมื่อมีฝนตกมีน้ำขังในภาชนะเกิดเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคไข้เลือดออกและชุมชนบ้านใสประดู่ยังเป็นพื้นที่ซึ่งเกิดโรคไข้เลือดออกระบาดในปี 2561 และ ปี 2562,2563ก็พบผู้ป่วย ซึ่งจากการลงพื้นที่ป้องกันและควบคุมโรคพบว่า มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย เกินเกณฑ์ซึ่งเมื่อสำรวจแหล่งเพาะพันธ์ลุกน้ำยุงลาย พบว่ามีแหล่งน้ำขังจากขยะประเภทต่างๆ ที่ทิ้งไว้ข้างบ้าน และกองขยะในที่สาธารณะ เช่นบริเวณศาลาหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน ซึ่งยังไม่มีการคัดแยกและจัดการขยะผลกระทบจากโรคไข้เลือดออกทำให้ประชาชนในชุมชนเสียค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลนอกจากนี้ยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่สวยงามเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์และแมลงมีพิษเมื่อมีฝนตกก็มีการชะล้างเอาสิ่งสกปรกลงไปในลำห้วยหลักของหมู่บ้าน ทำให้เกิดภาวะน้ำเสีย ประชาชนใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำไม่ได้ ส่งผลทางด้านเศรษฐกิจ มีรายจ่ายในเรื่องของการเฝ้าระวังและรักษาโรคที่เกิดจากปัญหาขยะดังนั้นชมรมอสม.ตำบลเขาปู่ จึงได้จัดทำโครงการการจัดการขยะ รักษาสิ่งแวดล้อม ชุมชนบ้านใสประดู่ ขึ้น เพื่อพัฒนาให้หมู่บ้านใสประดู่เป็นชุมชนต้นแบบเรื่องการจัดการขยะ และลดโรคที่เกิดจากปัญหาขยะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการเกิดโรคที่เกิดจากขยะ

-การเกิดโรคจากขยะลดลงร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อลดขยะในชุมชนบ้านไสประดู่

-เกิดกลไกขับเคลื่อนการจัดการขยะ -ร้อยละ 50 ของครัวเรือน เข้าร่วมและสมัครเข้าร่วมโครงการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/12/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์/รณรงค์โครงการ -จัดเวทีสร้างความเข้าใจ -รับสมัครบ้านที่เข้าร่วมโครงการ -ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1,000 บาท -ค่าป้ายคัดแยกขยะ 6 แผ่นๆละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุม/อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
ประชุม/อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)จัดประชุมและอบรมให้ความรู้แกนนำตัวแทนชมรมตัวแทนครัวเรือนที่สมัคร -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 120 คน x 25= 3,000 บาท -ค่าวิทยากร 5 ชม.x 600 บาท= 3,000 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ 3,000 2)ประชุมแกนนำ/คณะทำงาน เพื่อติมตาม ประเมินผลจำนวน 2 ครั้ง -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 15 คน x 25x 2= 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9750.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดเวทีสรุปผล คืนข้อมูลการจัดการขยะแก่ชุมชน ค่าอาหารว่าง พร้อมเครื่องดื่ม 120 คน x 25= 3,000 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ 1,750 บาท -สรุปและประเมินผลโครงการ จัดทำรายงานสรุปผลส่งสำนักงานกองทุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ขยะในครัวเรือน ชุมชน ลดลงบ้านใสประดู่เป็นชุมชนสะอาด ปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค


>