กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมภาวะโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมภาวะโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่รักษาไม่หายแต่สามารถป้องกันและควบคุมได้ ด้วยการเรียนรู้เรื่องโรคและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วยหรือผู้มีความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบันนี้ได้มีการาณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวานอย่างแพร่หลาย แต่ไม่สามารถควบคุมได้ ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือ ไม่สามารถควบคุมอาหาร ได้ น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จึงเป็นปัญหาที่ต้องหาทางช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมโรคได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคมอย่างมีความสุข
ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ แยกเป็นรายปี 5 ปีย้อนหลังตามรายละเอียดดังนี้ ปี2559,2560,2561,2562,2563โรคเบาหวานจำนวน 71,80,80,92,116 คน (ตามลำดับ) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 200,247,260,277,292คน(ตามลำดับ) โดยพบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถควบคุมโรคได้ ในปี 2559,2560,2561,2562,2563 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ 14.08,6.25,20.00,25.00,15.52(ตามลำดับ) ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้46.60,35.22,60.38,53.79,48.63 (ตามลำดับ) ซึ่งจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมโรคได้น้อยตลอดระยะเวลา 5 ปี
จากการดำเนินงานคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ พบว่า เมื่อผู้ป่วยมารับบริการในคลินิก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องงดน้ำและอาหารเพื่อเจาะระดับน้ำตาลในเลือด จะรีบเร่งในการกลับบ้านโดยไม่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันเรื่องผลการตรวจหรือวิธีการปฏิบัติตัวที่เกี่ยวกับโรค ทำให้ไม่มีเวที/สถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรค
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมภาวะโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยโรคเรื้อรังมุ่งหวังเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจ เสริมสร้างแรงบันดาลใจและความตระหนักในการควบคุมโรคเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเองควบคุมโรค
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ในการดูแลตนเองควบคุมโรค ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความ

2.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมค่าน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน คืนข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่เครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน คืนข้อมูลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่เครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับโรคเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม.และเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการเกิดภา

ชื่อกิจกรรม
2. จัดอบรมเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับโรคเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน พร้อมทั้งจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม.และเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันการเกิดภา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ3 ชม.ๆ ละ 600 บ. =  1,800 บ. ค่าอาหารกลางวัน  80 บ. X 60 คน x 1มื้อ = 4,800   บ. ค่าอาหารว่าง 30 บ.x 60 คน x 2 มื้อ 3,600 บ. - วัสดุในการจัดอบรม จำนวนเงิน  9,900 บาท  รายละเอียดดังนี้ - สมุดบันทึก  จำนวน 60 เล่ม ๆ ละ 50 บาท      เป็นเงิน 3,000 บาท - ปากกา จำนวน 60 ด้าม ๆ ละ 5 บาท                         เป็นเงิน 300 บาท -กระเป๋าใส่เอกสาร จำนวน 60 ชุด ๆ  ละ 50 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท -วัสดุสาธิตการอบรม จำนวน 60 ชุด ๆ  ละ 60 บาท  เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20100.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตามผล ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม.และเจ้าหน้าที่

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามผล ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในควบคุมโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย อสม.และเจ้าหน้าที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>