กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ตำบลปูโยะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

11.15
2 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

5.63

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ63ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในตำบลปูโยะพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในตำบล พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของตำบล โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวน ๑๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๕๙และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนมีจำนวน ๒๕๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๓ และพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจำนวน ๙ คน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๘ คน ส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ร้อยละ 30
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นรวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับผู้ป่วยที่ขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะและภาคีเครือข่ายจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประจำปี 2564ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

5.63 5.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

11.15 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,090
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง/หัวใจและหลอดเลือด
    • ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารแบบคัดกรองโรคเรื้อรัง  จำนวน  1,000  แผ่น  x 0.50 บาท  เป็นเงิน  500  บาท

- ค่าป้ายไวนิลโครงการฯ  จำนวน 1  ผืน  ขนาด 1.2 ม  x 2.4 ม.  เป็นเงิน  720  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนอายุ 35 ปี ได้รับการคัดกรอง HT/DM  1 ครั้ง/ปี
  2. ประชาชนอายุ 35 ปี ได้รับการคัดกรอง CVD  risk 1 ครั้ง/ปี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1220.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน5,500บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน110 คน x ๕๐ บาทเป็นเงิน5,500บาท - ค่าวัสดุในการจัดจัดอบรมเป็นเงิน2,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มป่วยได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนตา ไต เท้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลด หวาน มัน เค็ม ในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลด หวาน มัน เค็ม ในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ลด หวาน มัน เค็มในกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน1,000บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน20 คน x ๕๐ บาทเป็นเงิน1,000บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน ๆ ละ x 3 ชม.ๆ ละ x 300 บาทเป็นเงิน900บาท - ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารแบบประเมินและคำบรรยายจำนวน 40 ชุด ๆ ละ x 2๐ แผ่น ๆ ละ x 0.5 บาทเป็นเงิน400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง(3อ.2 ส.)
  • ลดอัตราผู้ป่วยโรคบาหวานและโรคความดันรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง


>