กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตำบลแพรกหา ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแพรกหา

ชมรม อสม.ตำบลแพรกหา

นางรวยนิษฐา ขุนนัดเชียร
นายสำเริงเกื้อทอง
นางวนิดา เต็มราม

ตำบลแพรกหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน ประเทศไทยพบผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป พบได้ถึงร้อยละ 50 อัตราความชุกของโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุในประเทศไทย พบปัญหาปวดข้อเข่าเสื่อมเป็นอันดับ 1 ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อมจะมีอาการปวดข้อ ปวดตึงกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่า บางครั้งมีอาการบวมแดงร่วมด้วย สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากน้ำหนักตัวที่มาก การใช้ข้อเข่ามาก อาจใช้นานกว่าปกติหรือผิดท่า ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด ข้อเข่าผิดรูป ข้อผิด หรือข้อติด เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติภารกิจประจำวันต่าง ๆ ทำได้ไม่สะดวก ส่งผลให้เกิดความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ทำให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมากและส่งผลต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการปวดที่ไม่เหมาะสม ความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้สูงอายุ ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเองถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวดท้องและเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะบรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การพอกยาสมุนไพร การบริหารแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแพรกหา จึงได้จัดทำโครงการการดูแลโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตำบลแพรกหา ปี 2564 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลตนเองของโรคข้อเข่าเสื่อม กายบริหาร การส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อลดอาการปวดเข่า โดยการพอกเข่าสมุนไพร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการดูแลสุขภาพตนเองของโรคข้อเข่าเสื่อม

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีอาการปวดเข่าลดน้อยลง

ร้อยละ 70 ผู้เข้าร่วมอบรมมีอาการปวดเข่าลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 240
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเองแก่ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเองแก่ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเองแก่ผู้สูงอายุหมู่บ้านละ 30 คน จำนวน 8 หมู่บ้าน (240 คน)
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ในการพอกเข่า สาธิตการทำยาพอกเข่าพร้อมให้ผู้เข้าอบรมปฏิบัติ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท จำนวน 240คน เป็นเงิน6,000 บาท
  2. คู่มือเอกสารประกอบความรู้เรื่องโรคข้อเข่าเสื่อมและวิธีการดูแลตนเอง ชุดละ 5 บาท จำนวน 240 ชุดเป็นเงิน 1,200 บาท
  3. หัวไพลสด จำนวน 50 กิโลกรัมๆ ละ 60 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท
  4. หัวขิงสด จำนวน 20 กิโลกรัมๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  5. หัวข่าสด จำนวน 20 กิโลกรัมๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มิถุนายน 2564 ถึง 18 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อนและการดูแลตนเอง
2.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความสามารถในการป้องกันอาการปวดข้อเข่าและปวดเมื่อยจากการทำงาน
3.ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ มีอาการปวดเข่าลดลงจากเดิม


>