กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแนะนำ ถามไถ่ ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่

ตำบลลำใหม่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตค่อนข้างมาก ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมประชาชนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ประชาชนต้องทำงานแข่งกับเวลา ทำให้พฤติกรรมการบริโภคที่เน้นความสะดวกสบาย บริโภคอาหารฟาสต์ฟู๊ด อาหารขยะชี่งล้วนแต่มีรสชาติ หวาน มัน เค็ม ทำให้สถิติของการเกิดโรค ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไปจนถึงมะเร็งลำไส้ และโรคร้ายแรงอื่น ๆซึ่งโรคเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนพิการ หรือบางรายถึงกับเสียชีวิต

ในการนี้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ตระหนักปัญหาการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ แนะนำ ถามไถ่ ใส่ใจสุขภาพเพื่อให้คำแนะนำพฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตในการลดความเสี่ยงจากภาวะโรคให้กับประชาชน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีอัตราที่เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงแต่เฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเท่านั้น ยังมีโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจ ฯลฯจึงจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องวัดความดันโลหิตในการตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องวัดความดันโลหิต
  • มีการจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่อง
  • มีการจัดซื้อเครื่องวัดความดัน จำนวน 2 เครื่อง
0.00
2 เพื่อให้คำแนะนำปัญหาสุขภาพเบื้องต้น ให้กับประชาชน

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการป้องกันตนเอง และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ปลอดภัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/04/2021

กำหนดเสร็จ : 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดซื้อ เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดความดันโลหิต

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อ เครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดความดันโลหิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความดัน สำหรับให้บริการประชาชนในพื้นที่
แนะนำให้ความรู้เรื่องการลดภาวะความเสี่ยงจากโรคที่มาจากพฤติกรรมการบริโภค และกิจวัตรประจำวันให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการกับ อบต. และเมื่อออกตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุ และคนพิการ

  1. ค่าจัดซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 2 เครื่องๆ ละ 2,000 บ. เป็นเงิน 4,000.- บาท
  2. ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 2,500.- บาท เป็นเงิน 5,000.- บาท
    รวมเป็นเงิน 9,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนได้รับบริการ ชั่งน้ำหนัก และวัดความดัน
2. ประชาชนได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตนในการบริโภคอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน


>