กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เพี้ยราม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้ปกครองใส่ใจ เด็กเพี้ยรามยิ้มใสห่างไกลฟันผุ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เพี้ยราม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพี้ยราม

นางเพ็ญทวี ก่อแก้ว
นางสาวณัฐสิมา ประสานสุข

ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากที่ดีมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน ซึ่งเด็กวัยนี้จะเริ่มมีฟันแท้ซี่แรกขึ้นมาในช่องปาก การที่เด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น โรคฟันผุ แม้ปัญหานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแต่ก็ทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวดทรมาน ส่งผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ การสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนดทำให้เด็กรับประทานอาหารลำบาก อาจมีปัญหาฟันแท้ขึ้นซ้อนเก และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมาก จะมีแนวโน้มว่าจะมีฟันแท้ผุมากเช่นกัน และถ้าหากว่าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ฟันผุก็จะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด
โรคฟันผุในเด็กวัยนี้ ถือว่าเป็นปัญหาที่ผู้ปกครองต้องใส่ใจดูแลเป็นอย่างยิ่ง โดยผู้ปกครองต้องสอนให้เด็กรู้จักแปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง เพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักและปฏิบัติจนเป็นนิสัย ส่วนด้านผู้ปกครองเองก็ต้องตระหนักในการดูแลทันตสุขภาพให้เด็กและหมั่นตรวจช่องปากของเด็กเพื่อดูความสะอาดหลังจากที่เด็กแปรงฟันเสร็จเพื่อดูว่าเด็กมีฟันผุหรือไม่ ในขณะเดียวกันเด็กวัยนี้เป็นวัยเรียน ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นสถานที่ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการที่จะช่วยส่งเสริมการดูแลทันตสุขภาพให้กับเด็กได้โดยการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันโดยมีครูเป็นผู้ดูแล และเมื่อเด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากครูก็ควรแจ้งผู้ปกครอง เพื่อที่จะพาเด็กไปรับการรักษาทางทันตกรรมตามความเหมาะสมต่อไป จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับทันตบุคลากรเพียงผู้เดียว แต่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง
ดังนั้นจัดทำโครงการ “ผู้ปกครองใส่ใจ เด็กเพี้ยรามยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอทั้งที่บ้านและโรงเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก อันตรายของโรคฟันผุ และโรคปริทันต์

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของสุขภาพช่องปาก อันตรายของโรคฟันผุและโรคปริทันต์ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

40.00 30.00

๑. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก อันตรายของโรคฟันผุ และโรคปริทันต์
๒. เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะในการตรวจช่องปาก รอยโรคในช่องปากเบื้องต้น
๓. เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนได้รับการตรวจช่องปากโดยบุคลากรสาธารณสุข

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 736
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ผู้ปกครองใส่ใจ เด็กเพี้ยรามยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ ประจำปี 2564ผู้ปกครองใส่ใจ เด็กเพี้ยรามยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ ประจำปี 2564

ชื่อกิจกรรม
ผู้ปกครองใส่ใจ เด็กเพี้ยรามยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ ประจำปี 2564ผู้ปกครองใส่ใจ เด็กเพี้ยรามยิ้มใส ห่างไกลฟันผุ ประจำปี 2564
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเรื่อง ความสำคัญของสุขภาพช่องปาก อันตรายของโรคฟันผุ โรคปริทันต์ จำนวน ๑ วัน
๒. ฝึกทักษะในการตรวจช่องปาก รอยโรคในช่องปากเบื้องต้นให้แก่ผู้ปกครอง ๓. ออกเชิงรุกเพื่อดำเนินการตรวจช่องปากในศพด./โรงเรียนในเขตรับผิดชอบ ๔. กิจกรรมที่ดำเนินงานในศพด./โรงเรียน มีดังนี้    ๔.๑ ออกตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกสภาวะฟันผุ ปีละ ๒ ครั้ง
   ๔.๒ ตรวจสุขภาพช่องปาก เพื่อตรวจความสะอาดของลิ้น เหงือก ฟัน และประเมินพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อสุขภาพช่องปาก    ๔.๓ บันทึกผลการตรวจช่องปากลงแบบฟอร์ม และบันทึกในโปรแกรม Hos-XP    ๔.๔ จัดระบบเฝ้าระวังที่สามารถติดตามพฤติกรรมเสี่ยงต่อสภาวะช่องปากเด็กอย่างต่อเนื่อง         
   ๔.๕ ให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ    ๔.๖ จัดบริการเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑    ๔.๗ ถ้าเด็กในศพด. /โรงเรียน ที่ไม่ได้มารับบริการตามนัดที่ รพ.สต.เพี้ยราม เจ้าหน้าที่จะออกเยี่ยมบ้านให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กในการดูแลสุขภาพช่องปาก ฝึกทักษะการแปรงฟันเด็ก    ๔.๘ เด็กนักเรียนในศพด./โรงเรียน ที่จำเป็นต้องรักษาทางทันตกรรม เจ้าหน้าที่จะจัดบริการ ทันตกรรมตามความจำเป็นในเด็กปฐมวัย ได้แก่ ขูดหินน้ำลาย อุดฟัน , ถอนฟัน โดยนัดให้บริการทันตกรรม ที่ รพ.สต.เพี้ยราม งบประมาณ
    ใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเพี้ยราม รายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. ค่าอาหารกลางวัน                  จำนวน 100 คน x 50 บาทx 1 มื้อ  เป็นเงิน 5,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ      เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าวิทยากร 300 บาท x 5 ชั่วโมง                  เป็นเงิน 1,500 บาท 4. ค่าเช่าเครื่องเสียง  จำนวน 1  วัน              เป็นเงิน 1,400 บาท
5. ค่าสถานที่   จำนวน 1 วัน                            เป็นเงิน    1,000 บาท
6. ค่าป้ายโครงการ 1 แผ่น                        เป็นเงิน 600    บาท    
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 14,500 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก อันตรายของโรคฟันผุ โรคปริทันต์
๒. ผู้ปกครองมีทักษะในการตรวจช่องปาก รอยโรคในช่องปากเบื้องต้นได้
๓. เด็กนักเรียน ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบฟลูออไรด์และเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันผุ
๔. เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง


>