กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ใส่ใจ ห่วงใยสุขภาพ นำ 3 หมอประจำบ้านเยี่ยมบ้านพาสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

ตำบลยะหา อำเภยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ และผู้พิการ ซึ่งผู้สูงอายุ และผู้พิการ สามารถทำคุณประโยชน์ต่อสังคมควบคู่ไปกับลูกหลานคนรุ่นหลังและเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตในอนาคตอย่างมีความสุขและเพื่อเตรียมความพร้อมกรณีประเทศไทยจะเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์"ในปี 2568 การสร้างเครือข่ายการจัดการบริการผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ เข้าถึงการบริการด้านการแพทย์ตลอดทั้งปี ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพมีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้พิการที่ถูกทอดทิ้ง ขาดการดูแล และผู้ด้อยโอกาสที่มีฐานะยากจนขาดการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องความเป็นอยู่ สุขภาพที่ดี ส่งผลกระทบถึงร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในเขตตำบลยะหา มีผู้ป่วยที่ต้องดูแลต่อเนื่องรายใหม่ ปี 2564 ตค-ธค63 จำนวน .15..คน ได้รับการดูแลต่อเนื่องร้อยละ 100 แต่พบว่ายังขาดอุปกรณ์ด้านการแพทย์ที่ต้องใช้ในการฟื้นฟูผู้ป่วยไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย จึงขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะหา เพื่อเป็นการติดตามอาการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้เกิดความโดดเดี่ยวและมีกำลังใจพร้อมที่จะต่อสู้และมีสุขภาพจิต กายที่ดีขึ้น และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพในพื้นที่ตำบลยะหาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสที่ทุพพลภาพ ได้รับการรักษาต่ออย่างต่อเนื่องร้อยละ 100%

30.00 30.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการซ้ำซ้อนได้รับการช่วยเหลือและลดภาวะโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดกับผู้ป่วย เช่นแผลกดทับ

ครอบครัวของผู้ป่วยติดเตียง ได้เรียนรู้การฟื้นฟู การดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 100 หรือผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่เกินร้อยละ 5

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลผู้พิการ และ อสม.ประจำบ้าน ตำบลยะหา

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลผู้พิการ และ อสม.ประจำบ้าน ตำบลยะหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมญาติที่ดูแลเรื่อง การดูแลผู้ป่วยติดเตียง ป้องกันแผลกดทับ การให้ออกซิเจน  การทำแผล - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 30 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 30 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงิน 3,000 บาท  เมษายน 2564

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลผู้พิการ และ อสม.ประจำบ้าน ตำบลยะหา มีความรู้ด้านสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 2 2.เยี่ยมบ้านส่งเสริมสุขภาพ ร่วมกับ 3 หมอประจำบ้านและมอบคู่มือดูแลสุขภาพประจำตัว

ชื่อกิจกรรม
2.เยี่ยมบ้านส่งเสริมสุขภาพ ร่วมกับ 3 หมอประจำบ้านและมอบคู่มือดูแลสุขภาพประจำตัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เยี่ยมบ้านโดยสหวิชาชีพ นสค. และอสม. 2.มอบสมุดประจำตัวดูแลสุขภาพให้ผุ้ป่วย เพื่อบันทึกการติดตามดูแลต่อเนื่อง เอกสารดูแลสุขภาพประจำตัวผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ จำนวน 30 เล่ม เล่มละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับการดูแลต่อเนื่องร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยพิการติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส (หน้ากากออกซิเจนครอบคอ/เครื่องผลิตออกซิเจน)

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยพิการติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส (หน้ากากออกซิเจนครอบคอ/เครื่องผลิตออกซิเจน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ทำทะเบียนเบิกยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์
    • มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย 3.สนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยพิการติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส (หน้ากากออกซิเจนครอบคอ/เครื่องผลิตออกซิเจน)
    • ทำทะเบียนเบิกยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์
    • มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยพิการติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส    - หน้ากากออกซิเจนครอบคอ จำนวน 5 อัน อันละ 100บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • เครื่องผลิตออกซิเจนจำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 10,000 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
  • หน้ากากออกซิเจน จำนวน 10 อัน อันละ 400 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • เบาะลมป้องกันแผลกดทับ พร้อมเครื่องปั๊มลมไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง เครื่องละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
12 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยพิการติดเตียง ผู้ด้อยโอกาสได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการให้เหมาะสมตามสภาพร่างกายและลักษณะความพิการ
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในด้านสุขภาพ
- เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้พิการในการดูแลสุขภาพตนเอง
- คนพิการสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมกับสภาพความพิการ
- คนพิการสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง รวมทั้งญาติและผู้ดูแลใกล้ชิดสามารถให้การดูแลช่วยเหลือคนพิการได้อย่างเหมาะสม


>