กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการด้วยวิถีแพทย์แผนไทย ชมรมแพทย์แผนไทย รพ.สต.ตาแปด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้สูงอายุ และผู้พิการด้วยวิถีแพทย์แผนไทย ชมรมแพทย์แผนไทย รพ.สต.ตาแปด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากบาง

ชมรมแพทย์แผนไทย.รพ.สต.ตาแปด

1……นางพรรณี ดวงมะลิ………………..
2……นางอามีเนาะ กูแมเร๊าะ……………
3……นางมาลีพูลแก้ว…………
4……นางรอหยะหวันหนิ………
5……นางอำนวย ศิระจิตร………..

ม.5 บ้านตาแปด,ม.6 บ้านคลองขุด,ม.7 บ้านควนตีหมุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

3.00
2 ร้อยละของคนพิการมีภาวะเครียดหรือวิตกกังวล

 

2.00

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มีจำนวนและสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นถึงร้อยละ 10 ของประชากร หรือ 6.3 ล้านคน(กรมอนามัย:2549) ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากร ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดถึงความได้เปรียบทางประชากรในการพัฒนาประเทศ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้นมีปัญหาด้านสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ ความพิการและทุพพลภาพเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อการเพิ่มของความต้องการค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาพยาบาลดังนั้นเมื่อจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในอนาคตจะเป็นภาระสำคัญสำหรับรัฐบาลในการหามาตรการรองรับด้านการรักษาพยาบาล สังคมไทยจะเริ่มต้นสู่สังคมผู้สูงอายุในอีก 6 ปี ข้างหน้า การมีนโยบายสุขภาพเชิงรุกสำหรับผู้สูงอายุ ย่อมทำให้ประชากรสูงอายุมีศักยภาพ สุขภาพ และปัญญาความรู้เพิ่มขึ้นที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศและป้องกันการเจ็บป่วย พิการ ทุพพลภาพ ตลอดจนการลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจากการสำรวจบัญชีสาธารณสุข พบว่าในเขตรพ.สต.ตาแปด พบผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 403 คน จากการที่จำนวนผู้สูงอายุภายในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีลักษณะความเป็นสังคมเมือง ลูกหลานออกไปทำงานนอกบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุต้องเผชิญกับปัญหาหลายๆ ด้าน เช่น ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพังหรือสังคมให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุน้อยลง ประกอบผู้สูงอายุประสบปัญหาสุขภาพ ทำให้ผู้สูงอายุที่มีความเปราะบางอยู่แล้วได้รับผลกระทบ ทั้งนี้หากผู้สูงอายุปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวิต แต่ถ้าไม่พร้อมหรือปรับตัวไม่ได้และไม่ดีพอ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว เหงา ถูกทอดทิ้ง มีความวิตกกังวล ท้อแท้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกคุณค่าในชีวิตลดน้อยลง
ในด้านผู้พิการในชุมชน พบผู้พิการจำนวน45 คน มักจะพบปัญหาคล้ายกับผู้สูงอายุ จึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างระบบการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดตียงและผู้สูงอายที่ดูแลตัวเองได้น้อยและผู้พิการในชุมชน เพื่อรองรับสถานการณ์ปัจจุบันของพื้นที่การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดตียงและผู้สูงอายที่ดูแลตัวเองได้น้อยและผู้พิการที่เน้นให้บริการรักษาตามแนวทางแพทย์แผนไทยประยุกต์ร่วมด้วย ซึ่งเป็นการรักษาที่ไม่ต้องใช้ยาซึ่งอาจมีผลข้างเคียงต่อผู้สูงอายุและผู้พิการ
ชมรมแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแปด จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายที่ดูแลตัวเองได้น้อยและผู้พิการ เพื่อการดูแลในผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพโดยชุมชนโดยใช้แนวทางการดูแลและฟื้นฟูผู้สูงอายุโดยใช้ศาสตร์ของแพทย์แผนไทยร่วมด้วย รวมทั้งการดูแลผู้สูงอายุแบบประคับประคอง( ในระยะสุดท้ายของชีวิต ) โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายที่ดูแลตัวเองได้น้อยและผู้พิการและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาภาวะเครียดหรือวิตกกังวลของคนพิการ

ร้อยละคนพิการมีภาวะเครียดหรือวิตกกังวล

2.00 1.00
2 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน

ผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน มีจำนวนลดลง

3.00 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10
ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง 13
ผู้ดูแลผู้พิการ 45

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 07/06/2021

กำหนดเสร็จ 23/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงในชุมชน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงในชุมชน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้พิการและผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง -ค่าอาหารว่างเช้า-บ่ายจำนวน 68 คน คนละ 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับจัดอบรม จำนวน 68 คนคนละ 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,400 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมง ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5*1.0 เมตร เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2564 ถึง 26 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้พิการ และผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9700.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฎิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงในชุมชน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกให้แก่อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการเกี่ยวกับการดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงในชุมชน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกให้แก่อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อสม. -ค่าอาหารว่างเช้า-บ่ายจำนวน 60 คน คนละ 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนคนละ 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 2 ชั่วโมง ชั่วโมง ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.5*1.0 เมตร เป็นเงิน 500 บาท - ค่าเอกสารอบรม ชุดละ 50 บาท x 1 ชุด x 60 คน เป็นเงิน3,000บาท - ค่าวัสดุเวชภัณฑ์เพื่อทำน้ำมันนวดสมุนไพร เป็นเงิน 3,300 บาท
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน3000บาท - ค่าลูกประคบ ลูกละ 100 บาท x 60 ลูก เป็นเงิน 6000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 กรกฎาคม 2564 ถึง 28 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้ในการดูแลผู้พิการ และผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงในชุมชน ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24200.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าชุดเยี่ยมบ้าน ผู้พิการ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 58 คน ชุดละ 500 บาท เป็นเงิน 29,000 บาท
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเหมาจ่าย 5 วัน วันละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 สิงหาคม 2564 ถึง 24 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผ้พิการ ผู้สูงอายุมีการดูแลสุขภาพด้วยศาสต์การแพทย์แผนไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่ดูแลช่วยเหลือได้น้อยและผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้
- ผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือได้น้อยและผู้พิการได้รับการเยี่ยมบ้าน


>